เอชไอวี HIV

เรื่องควรรู้ก่อน สวมถุงยางอนามัย

เรื่องควรรู้ก่อน สวมถุงยางอนามัย

เมื่อพูดถึงการปกป้องสุขภาพทางเพศของคุณการ สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการกั้นที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงเอชไอวี อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการในด้านการป้องกันที่สำคัญนี้ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับข้อมูลที่ดี การทำความเข้าใจประเภทของถุงยางอนามัย ประสิทธิภาพ และการใช้งานที่เหมาะสมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีได้ นอกจากนี้ การพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น การเลือกถุงยางอนามัย การสวมถุงยางอนามัยที่ถูกต้องและเทคนิคการถอด และความสำคัญของการตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณได้ บทความนี้ จะให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่า คุณมีความรู้และความมั่นใจที่จำเป็นสำหรับการ สวมถุงยางอนามัย อย่างเหมาะสม ช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญของสุขภาวะทางเพศได้

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ได้นานกี่ปี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ได้นานกี่ปี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่พบเชื้อใหม่ๆ หรือพบเชื้อมาสักระยะหนึ่งแล้ว คงคิดว่าการอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องที่น่ากลัว และหลายคนสงสัยเกี่ยวกับโรคว่าจะทำให้สุขภาพของพวกเขาย่ำแย่จนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว แม้ว่าการวินิจฉัยโรคเอชไอวี อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่การทำความเข้าใจ ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่กับไวรัสเอชไอวีได้มากน้อยเพียงใด สามารถช่วยให้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ตัดสินใจอย่างมีข้อเท็จจริง เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในบทความนี้ เราจะสำรวจปัจจัย ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี แนวโน้มความเสี่ยงและการดูแลสุขภาพของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

CD4 กับ Viral load คืออะไร ?

เมื่อเราติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว ไวรัสเอชไอวีจะเจาะเข้าไปในเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้ CD4 จำนวนลดลง  เมื่อ CD4  ลดลง ปริมาณ Viral Load เพิ่มขึ้น  เมื่อมีเชื้อเอชไอวี( HIV) อยู่ในร่างกายนานๆ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายมากขึ้นนั่นเอง CD4 คืออะไร CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในคนที่ร่างกายปกติก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ CD4 เช่นเดียวกัน เชื้อไวรัสเอชไอวี มีผลมาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ที่สำคัญนี้โดยตรง …

CD4 กับ Viral load คืออะไร ? Read More »

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน?

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน และยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ คือ การติดเชื้อเอชไอวี โดยความอันตรายของโรคคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ จนในที่สุดเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยก็พบว่าตนเข้าสู่ระยะรุนแรง ซึ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้สูงกว่า ที่สำคัญไปกว่านั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย อาจมีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หากไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหันมาให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อ การตรวจ HIV ตลอดจนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์ว่าหน่ึ่งในสิ่งแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทราบสถานะของตนได้อย่างทันท่วงที หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุด และยับยั้งการลุกลามของเชื้อเอชไอวีไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันหากรักษาได้เร็วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป แตกต่างจากเมื่อครั้งอดีตที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ที่ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตจากเอชไอวีมากมาย การตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน ความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การตรวจ HIV มีกระบวนการที่ยุ่งยากใช้เวลานาน นั่นเป็นเพราะว่าในอดีตการพัฒนาด้านการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังค่อนข้างยาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ผู้คนส่วนมากยังไม่เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เหล่านี้เท่าที่ควร ความจริงแล้วในปัจจุบันหากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องการเข้ารับการตรวจ HIV สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาในการตรวจเพียงไม่นานก็ทราบผล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุให้ การตรวจ HIV อยู่หลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง …

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน? Read More »

HIV Self test ชุดตรวจเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี ไวรัสเอชไอวี เอดส์ ชุดตรวจอินสติ HIV test

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test)

ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย มีเกณฑ์การลดลงอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนที่น่าพึงพอใจ เนื่องด้วยความมุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบายในการยุติปัญหาเอดส์และเอชไอวี ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2573 อย่างร่วมมือร่วมใจจากหลายภาคส่วน ทำให้เป้าหมายหลักทั้ง 3 ประการ นั่นก็คือ การลดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ การลดพฤติกรรมถูกเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้ความรู้ รวมไปถึงแนวทางการตรวจเอชไอวี ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันโดยวิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์มีด้วยกันทั้งหมด 4 วิธี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ตรวจอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลเท่านั้น โดยมีวิธีการดังนี้ HIV p24 antigen testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา antigen ของเชื้อไวรัส HIV ด้วยเชื้อโปรตีน p24 antigen Anti-HIV testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา Anti-HIV จำเพาะ HIV Ag/Ab combination assay : การตรวจเอชไอวีโดยใช้ชุดตรวจที่สามารถตรวจได้ทั้ง HIV p24 antigen และ/หรือ Anti-HIV ในครั้งเดียว NAT …

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test) Read More »

กลุ่มเสี่ยงเอชไอวี เอชไอวี เอดส์ ไวรัสเอชไอวี ตรวจเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถคิดค้นแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่วงการแพทย์ยังคงเดินหน้าทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยทั่วโลก รวมไปถึงการลดปริมาณผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเอดส์ให้มากที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมายนี้เองทำให้เกิดการรณรงค์และกระตุ้นการรับรู้ ถึงความร้ายแรงของเชื้อเอชไอวีควบคู่ไปกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อลักษณะอาการ การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับปรับทัศนคติที่ยังเกิดความเข้าใจผิดในปัจจุบันให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น โดยจากข้อมูลรายงานเมื่อปี 2532 จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ที่ได้มีการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 ปี โดยการสุ่มตรวจจากติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเป้าหมายที่จัดอยู่ในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 8 กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ กลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ซึ่งจากข้อมูลขณะนั้นพบว่าเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยต่อเนื่องมาถึง ปี 2551 พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นมากถึง 48% โดยสิ่งที่ยังคงเป็นช่องโหว่อย่างเห็นได้ชัดในช่วงสมัยนั้น คือความหละหลวมในการเฝ้าระวังที่ไม่รัดกุม จากรายงานพบข้อมูลผู้ติดเชื้อเพียง 9 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลด้านเอชไอวีภายในประเทศไทย ยังไม่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน กลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือมีประวัติการรักษาในรอบปีที่ผ่านมา กลุ่มชายที่ทำอาชีพขายบริการทางเพศ รวมถึงกลุ่มชาวประมงและกลุ่มแรงงานต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทยในช่วงนั้นมีอัตราเสี่ยงใกล้เคียงกัน กลุ่มหญิงที่ทำอาชีพขายบริการทางเพศทางตรง ซึ่งประกอบอาชีพนี้เป็นหลักโดยไม่มีอาชีพอื่น ๆ ประกอบ กลุ่มหญิงที่ขายบริการทางเพศทางอ้อม หรือ ประกอบอาชีพขายบริการแอบแฝงเป็นครั้งคราว กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการฝากครรภ์ในสถานพยาบาล กลุ่มชายที่เข้าประจำการทหาร ซึ่งในช่วงนั้นพบสูงสุดในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสุดท้ายคือภาคใต้ …

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี Read More »

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจเลือด ตรวจHIV สถานที่ตรวจเอดส์ โรคเอดส์ ไวรัสเอชไอวี

ตรวจเอชไอวี (HIV) ที่ไหนดี ตรวจเร็ว รู้ผลไว

เอชไอวี (HIV) คือโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส Human Immunodeficiency Virus ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อถูกทำลาย และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ตามปกติ กล่าวคือในปัจจุบันเอชไอวีนับว่าเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ถึง 2.1 ล้านคน (รายงานขององค์การสหประชาชาติ 2562) ทั้งนี้ในประเทศไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ 4.7 แสนคน ซึ่งเป็นผู้ที่เข้ารับยาต้านไวรัสอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 4 แสนคน ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่พัฒนาการด้านยาต้านไวรัสถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการป้องกันและการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ร่วมกับไวรัสได้อย่างปลอดภัย ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อก่อนจะนำไปสู่ภาวะร้ายแรงของโรคเอดส์ได้ ด้วยเหตุนี้เองผู้ป่วยเอชไอวีในปัจจุบันที่เข้ารับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง และใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ทัศนคติที่ควรเปิดกว้างต่อการตรวจเอชไอวี ตรวจไว รักษาได้ แนวคิดการตรวจเอชไอวี เนื่องในวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (VCT Day) วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยมีความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของเอชไอวี การป้องกันและดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากการติดเชื้อเอชไอวี ไปจนถึงการดูแลรักษาที่ทันท่วงที เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยในสังคมไทยให้มากที่สุด ประเด็นสำคัญที่ช่วยให้จำนวนของผู้ป่วยลดลง ส่วนหนึ่งคือทัศนคติที่ดีต่อการตรวจเอชไอวี ซึ่งในปัจจุบันยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยเอชไอวีในด้านของการเลือกปฏิบัติ การถูกตีตราทางสังคม ไปจนถึงหลักสิทธิมนุษยชนต่าง …

ตรวจเอชไอวี (HIV) ที่ไหนดี ตรวจเร็ว รู้ผลไว Read More »

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจเลือด โรคเอดส์ HIV ตรวจเอชไอวีตอนไหน ตรวจเอชไอวีที่ไหน

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

หากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงการป้องกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปีแล้ว แน่นอนว่าโรคเอดส์ หรือ เอชไอวี คือสิ่งที่สังคมไทยและทั่วโลกต่างทราบเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อ่อนแอลง ซึ่งระยะสุดท้ายของโรคคืออาการของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนายาที่รักษาให้หายขาดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้หลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยมากมายต่อเอชไอวี รวมถึงการตรวจเอชไอวี โดยในบทความนี้ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ การรักษา รวมไปถึงการตรวจเอชไอวี มาให้ทุกคนที่สนใจได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรตรวจเอชไอวีหรือไม่? เชื่อว่าคำถามนี้เป็นหนึ่งในข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากทราบดีว่าสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ที่มั่นใจว่าตนไม่เข้าข่ายพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น ไม่ให้ความสำคัญต่อการตรวจเอชไอวี ในกรณีนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าประชาชนทุกคนควรได้รับการตรวจเอชไอวี เนื่องจากสถิติของกรมควบคุมโรคได้เผยว่า ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่ทราบสถานะของตนประมาณ 2.8 หมื่นคนต่อปี ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้โดยไม่รู้ตัว ข้อแนะนำในการตรวจเอชไอวี ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงควรตรวจเอชไอวีอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ 3 เดือน หรือ 6 เดือน การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มิใช่เรื่องน่ารังเกียจอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด …

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี Read More »

เอชไอวี การตรวจเอชไอวี การแพร่เชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวีและการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน

จากข้อมูลศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2524 พบผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็นโรคมะเร็งคาโปสิ ซาร์โคมา (Kaposi’s sarcoma) โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิไอ (Pneumocystis carinii) และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอีกมากมาย ซึ่งจากการบันทึกไว้ทราบว่าไม่มีผู้ป่วยรายไหนรอดชีวิต แม้ว่าจะใช้วิธีรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีที่สุดของช่วงนั้นแล้ว จากนั้นจึงมีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการให้โรคนี้ว่า Acquired Immuno-deficiency Syndrome หรือ AIDS ในขณะนั้นจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในไม่กี่ปี โดยผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย หรือ กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuality) จึงมีความเข้าใจผิดต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ในแง่ลบ จนกระทั่งแพทย์ได้พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์จากการถ่ายเลือดได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการศึกษาโรคเอดส์อย่างจริงจังในเวลาต่อมา ถัดมาในปี พ.ศ. 2527 คณะนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า พบเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีภาวะของโรคเอดส์ โดยให้ชื่อว่า HTLV-III และในปัจจุบันคือ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus : HIV) ในประเทศไทยมีการสำรวจพบผู้ป่วยรายแรกอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งในโรคเอดส์ช่วง 3 ปีแรกของการแพร่ระบาดในไทย พบว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยผู้ใหญ่โดยมากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นกลุ่มชายรักชายเช่นเดียวกับที่ประเทศสหรัฐอเมริกา …

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวีและการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน Read More »

ตรวจเอชไอวี รักษาเอชไอวี เชื้อเอชไอวี HIV โรคเอดส์ AIDS ความเสี่ยงเอชไอวี

หลักปฏิบัติและแนวทางการวิเคราะห์ในการตรวจเอชไอวี

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้มีการพัฒนา เกี่ยวกับแนวทางการตรวจเอชไอวีและการรักษาเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดจำนวนผู้ป่วย รวมไปถึงลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า “เอชไอวี (HIV)” ยังไม่มีแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ 100% มีเพียงวิธีการป้องกันต่าง ๆ อย่างครอบคลุม พร้อมกับการตรวจเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบสถานะของตน เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม กล่าวคือ การตรวจเอชไอวี มีความสำคัญเทียบเท่าการป้องกันตนเอง จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่าง ๆ หรือ ความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำเชื้อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน อุบัติเหตุทางการแพทย์ (ความเสี่ยงของบุคคลากรทางการแพทย์) หรือ การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงการตรวจได้สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น ด้วยนโยบายของภาครัฐ ที่ได้มีการบรรจุให้การตรวจเอชไอวีเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีจำนวน 2 ครั้งต่อปี ภายในสถานพยาบาลของรัฐที่สามารถใช้สิทธิได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ครอบคลุมทั่วประเทศ และช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของการให้คำปรึกษาและการตรวจเอชไอวีโดยแพทย์ การเข้ารับการตรวจเอชไอวี หรือ การเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี เป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ เพื่อทราบผลเลือดที่ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีในร่างกายจริงหรือไม่ ช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจเอชไอวีมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งยังเป็นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลของการตรวจเอชไอวีนั้น ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้เข้ารับการตรวจเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าผลการตรวจเอชไอวีจะออกมาเป็นอย่างไร ผู้เข้ารับการตรวจย่อมได้รับความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเอชไอวี และมีประโยชน์ต่อการรับมือกับผลลัพธ์ได้อย่างเหมาะสม …

หลักปฏิบัติและแนวทางการวิเคราะห์ในการตรวจเอชไอวี Read More »

Scroll to Top
Scroll to Top