December 2020

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจเลือด โรคเอดส์ HIV ตรวจเอชไอวีตอนไหน ตรวจเอชไอวีที่ไหน

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

หากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงการป้องกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปีแล้ว แน่นอนว่าโรคเอดส์ หรือ เอชไอวี คือสิ่งที่สังคมไทยและทั่วโลกต่างทราบเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อ่อนแอลง ซึ่งระยะสุดท้ายของโรคคืออาการของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนายาที่รักษาให้หายขาดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้หลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยมากมายต่อเอชไอวี รวมถึงการตรวจเอชไอวี โดยในบทความนี้ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ การรักษา รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี มาให้ทุกคนที่สนใจได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรตรวจเอชไอวีหรือไม่? เชื่อว่าคำถามนี้เป็นหนึ่งในข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากทราบดีว่าสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ที่มั่นใจว่าตนไม่เข้าข่ายพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น ไม่ให้ความสำคัญต่อการตรวจเอชไอวี ในกรณีนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าประชาชนทุกคนควรได้รับการตรวจเอชไอวี เนื่องจากสถิติของกรมควบคุมโรคได้เผยว่า ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่ทราบสถานะของตนประมาณ 2.8 หมื่นคนต่อปี ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้โดยไม่รู้ตัว ข้อแนะนำในการตรวจเอชไอวี ตรวจเอชไอวีได้ที่ไหนบ้าง? คนไทยทุกคนสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี 2 ครั้ง/ปี ณ โรงพยาบาลที่สามารถใช้สิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทุกแแห่งทั่วประเทศ หรือ คลินิกที่ร่วมโครงการ เช่น คลีนิคนิรนาม […]

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี Read More »

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน

จากข้อมูลศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2524 พบผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็นโรคมะเร็งคาโปสิ ซาร์โคมา (Kaposi’s sarcoma) โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิไอ (Pneumocystis carinii) และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอีกมากมาย ซึ่งจากการบันทึกไว้ทราบว่าไม่มีผู้ป่วยรายไหนรอดชีวิต แม้ว่าจะใช้วิธีรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีที่สุดของช่วงนั้นแล้ว จากนั้นจึงมีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการให้โรคนี้ว่า Acquired Immuno-deficiency Syndrome หรือ AIDS ในบทความนี้ จะกล่าวถึง นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะนั้นจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในไม่กี่ปี โดยผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย หรือ กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuality) จึงมีความเข้าใจผิดต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ในแง่ลบ จนกระทั่งแพทย์ได้พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์จากการถ่ายเลือดได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการศึกษาโรคเอดส์อย่างจริงจังในเวลาต่อมา ถัดมาในปี พ.ศ. 2527 คณะนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า พบเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีภาวะของโรคเอดส์ โดยให้ชื่อว่า HTLV-III และในปัจจุบันคือ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus : HIV) ในประเทศไทยมีการสำรวจพบผู้ป่วยรายแรกอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งในโรคเอดส์ช่วง 3 ปีแรกของการแพร่ระบาดในไทย

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน Read More »

ตรวจเอชไอวี รักษาเอชไอวี เชื้อเอชไอวี HIV โรคเอดส์ AIDS ความเสี่ยงเอชไอวี

แนวทางการตรวจเอชไอวี และหลักปฏิบัติ

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้มีการพัฒนา เกี่ยวกับแนวทางการตรวจเอชไอวีและการรักษาเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดจำนวนผู้ป่วย รวมไปถึงลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า “เอชไอวี (HIV)” ยังไม่มีแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ 100% มีเพียงวิธีการป้องกันต่าง ๆ อย่างครอบคลุม พร้อมกับการตรวจเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบสถานะของตน เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม บทความนี้จะกล่าวถึง แนวทางการตรวจเอชไอวี กล่าวคือ การตรวจเอชไอวี มีความสำคัญเทียบเท่าการป้องกันตนเอง จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่าง ๆ หรือ ความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำเชื้อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน อุบัติเหตุทางการแพทย์ (ความเสี่ยงของบุคคลากรทางการแพทย์) หรือ การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงการตรวจได้สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น ด้วยนโยบายของภาครัฐ ที่ได้มีการบรรจุให้การตรวจเอชไอวีเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีจำนวน 2 ครั้งต่อปี ภายในสถานพยาบาลของรัฐที่สามารถใช้สิทธิได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ครอบคลุมทั่วประเทศ และช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของการให้คำปรึกษาและการตรวจเอชไอวีโดยแพทย์ การเข้ารับการตรวจเอชไอวี หรือ การเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี เป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ เพื่อทราบผลเลือดที่ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีในร่างกายจริงหรือไม่ ช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจเอชไอวีมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งยังเป็นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลของการตรวจเอชไอวีนั้น ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้เข้ารับการตรวจเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าผลการตรวจเอชไอวีจะออกมาเป็นอย่างไร

แนวทางการตรวจเอชไอวี และหลักปฏิบัติ Read More »

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้

จากการสำรวจสุขภาพในปี 2558 (Health Examination) พบว่าคนไทยมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ด้วยทัศนคติแง่ลบเกี่ยวกับความร้ายแรงของโรคเอดส์ในอดีตมากถึงร้อยละ 58.6 ซึ่งมีความต่อเนื่องเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในปี 2560 พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการตีตรารวมถึงการเลือกปฏิบัติแง่ลบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.9 ทั้งในเรื่องการดำเนินชีวิตและในส่วนของการรับบริการจากสถานบริการสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้นำไปสู่การตัดสินใจไม่กล้าเข้ารับการตรวจเอชไอวี ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้น บทความนี้ จะกล่าวถึงการตรวจเอชไอวี ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี เพราะการตรวจเอชไอวีเป็นการตรวจที่ง่าย และสะดวก เราทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญ ของการตรวจเอชไอวี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดในการรณรงค์สร้างความตระหนักที่ถูกต้องให้กับประชาชนทุกคน ในเรื่องเอชไอวีและเอดส์เนื่องในวันเอดส์โลกวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการตีตรา และลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ลดลงในอนาคต ด้วยการสนับสนุนให้มีการยุติปัญหาเอชไอวี ภายใต้แนวความคิด “Walk Together : เอดส์อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา” ด้วยจุดประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ก้าวสู่ความเข้าใจที่ตรงกันว่า การติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องที่ไม่น่ารังเกียจ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการรับยาต้านเชื้ออย่างมีวินัยและต่อเนื่อง ไม่สามารถติดต่อสู่บุคคลอื่น ๆ ได้ง่ายอย่างที่เข้าใจ และเพื่อให้ผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้ที่มีความเสี่ยง กล้าที่จะเข้ารับการตรวจเอชไอวีรวมถึงมีความมั่นใจในการเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน ปัจจุบันการตรวจเอชไอวีในผู้ที่มีความเสี่ยงจากกรณีต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ประชาชนต่างหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้มีการบรรจุให้การตรวจเอชไอวีเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้ Read More »

Scroll to Top