HIV Self test ชุดตรวจเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี ไวรัสเอชไอวี เอดส์ ชุดตรวจอินสติ HIV test

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test)

ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย มีเกณฑ์การลดลงอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนที่น่าพึงพอใจ เนื่องด้วยความมุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบายในการยุติปัญหาเอดส์และเอชไอวี ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2573 อย่างร่วมมือร่วมใจจากหลายภาคส่วน ทำให้เป้าหมายหลักทั้ง 3 ประการ นั่นก็คือ การลดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ การลดพฤติกรรมถูกเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้ความรู้ รวมไปถึงแนวทางการตรวจเอชไอวี ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ในบทความนี้จะกล่าวถึงการ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไอวี

ตรวจเอชไอวี ชุดตรวจเอชไอวี ชุดตรวจเอดส์ ชุดตรวจเลือด ตรวจเอดส์ ตรวจเลือด ตรวจเลือดด้วยตัวเอง

การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันโดยวิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์มีด้วยกันทั้งหมด 4 วิธี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ตรวจอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลเท่านั้น โดยมีวิธีการดังนี้

  1. HIV p24 antigen testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา antigen ของเชื้อไวรัส HIV ด้วยเชื้อโปรตีน p24 antigen
  2. Anti-HIV testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา Anti-HIV จำเพาะ
  3. HIV Ag/Ab combination assay : การตรวจเอชไอวีโดยใช้ชุดตรวจที่สามารถตรวจได้ทั้ง HIV p24 antigen และ/หรือ Anti-HIV ในครั้งเดียว
  4. NAT (Nucleic Acid Test) : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส HIV ที่มีชื่อว่า Nucleie acid

จะเห็นได้ว่าการตรวจเอชไอวีด้วยวิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด แต่ทว่าการตรวจเอชไอวีที่จะต้องเข้าพบแพทย์ หรือ การรับคำปรึกษาจากสถานพยาบาลโดยตรง ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่ต้องการตรวจ รวมไปถึงคนรอบข้างด้วยเช่นกัน ในแง่ของการถูกตีตราทางสังคม ความเข้าใจผิดที่มีต่อการตรวจเอชไอวีและการติดเชื้อเอชไอวี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ที่มีความเสี่ยงไม่เข้ารับการตรวจอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยุติปัญหาเอชไอวี จึงได้นำร่องทางเลือกใหม่ในการช่วยคัดกรองเอชไอวีได้มากยิ่งขึ้น จากการผลักดันให้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ได้รับการอนุญาตให้วางจำหน่ายได้ในประเทศไทย

การอนุญาตให้ประชาชนเข้าถึงชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง

เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี และเรื่องชุดตรวจที่เกี่ยวข้องการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง พ.ศ.2562 ซึ่งได้มีการประกาศให้มีผลบังคับใช้ทันที โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการเพิ่มทางเลือกการตรวจคัดกรองเอชไอวีได้อย่างสะดวก ภายใต้มาตรฐานการรับรองที่เชื่อถือได้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดการแพร่เชื้อเอชไอวี เพื่อการทราบผลเลือดที่รวดเร็ว การป้องกัน และการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือไม่

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองได้มีการพัฒนา และเริ่มได้รับการยอมรับในต่างประเทศมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศไทยไม่ได้จัดให้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เนื่องจากการประเมินด้านประโยชน์ที่ได้รับและความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีของประชากรไทย อาจยังไม่พร้อมต่อการเข้าถึงชุดตรวจดังกล่าวเท่าที่ควร

จากการประสานงานร่วมกันของกรมควบคุมโรค สภากาชาดไทย และมูลนิธิด้านเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการอาหารและยาได้พิจารณาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยการคุมเข้มคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าถึงชุดตรวจที่เชื่อถือได้อย่างแท้จริง ตลอดจนมีความเข้มงวดในการตรวจสอบชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองตามแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ด้วยการกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐาน ตัวอย่างเช่น ชุดตรวจเอชไอวีจะต้องมีคู่มือหรือเอกสารประกอบการใช้งาน มีความแม่นยำไม่ต่ำกว่า 99.5% และได้รับเครื่องหมายจากคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น

ประโยชน์ของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง (HIV Self Test)

  • เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ ผู้ที่ต้องการทราบสถานะเลือด
  • ชุดตรวจเอชไอวีสามารถทราบผลได้ใกล้เคียงกับการตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • สามารถตรวจหาเชื้อได้อย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการลุกลามรุนแรงในกรณีที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ
  • เข้าถึงชุดตรวจเอชไอวีได้ง่ายมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าตรวจยังสถานพยาบาล
  • หลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด การเลือกปฏิบัติ หรือการถูกตีตราทางสังคมได้มากกว่า
  • การใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนตัวได้ดี
ประโยชน์ตรวจเอชไอวี ประโยชน์ตรวจเลือด ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ เอดส์ เอชไอวี ไวรัสเอชไอวี HIV AIDS

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองมีทั้งหมดกี่ประเภท

ปัจจุบันชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองมีทั้งหมด 2 แบบหลัก ๆ ประกอบด้วย แบบตรวจจากน้ำลาย และแบบตรวจด้วยการเจาะเลือด ซึ่งทั้ง 2 มีประสิทธิภาพและความแม่นยำ ที่ได้รับการยอมรับระดับสากลแล้วว่ามีมาตรฐานเชื่อถือได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าการตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองโดยการเจาะเลือดนั้นมีความปลอดภัย สามารถทิ้งเป็นขยะทั่วไปได้ตามปกติ เนื่องจากผู้ผลิตได้ออกแบบชุดตรวจให้ตัวเข็มจัดเก็บอย่างมิดชิด เมื่อใช้เจาะเลือดเรียบร้อยแล้วจะไม่มีโอกาสทิ่มตำบุคคลอื่น ๆ ได้ ประเด็นสำคัญคือปริมาณเลือดที่ใช้ตรวจมีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นเมื่อเลือดที่ใช้ตรวจแล้วจะแห้งซึมภายในไม่กี่ชั่วโมง จึงไม่สามารถส่งต่อเชื้อเอชไอวีสู่บุคคลอื่นได้ (ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อ)

ข้อแนะนำในการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง

  • การตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ผู้ตรวจควรมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีก่อนเสมอ เพื่อแนวทางการรับมือและการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องต่อไป
  • ผู้ตรวจควรทำความเข้าใจวิธีการใช้งานและการอ่านผลตรวจอย่างละเอียด
  • ความคลาดเคลื่อนจากการตรวจด้วยตัวเองในกรณีต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผลการตรวจไม่มีความแน่ชัดเท่าที่ควร
  • การตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ตรวจไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้มากกว่า
  • ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง เป็นเครื่องมือในการคัดกรองผู้ติดเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าติดเชื้อหรือไม่ติด ในกรณีที่ผลออกมาเป็น Reactive จะต้องเข้ารับการตรวจยืนยันจากหน่วยบริการอย่างเร็วที่สุด เพื่อยืนยันผลอย่างเป็นทางการโดยแพทย์
  • ควรเลือกชุดตรวจเอชไอวีที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. มีการแสดงฉลากอย่างละเอียด บรรจุภัณฑ์มีความสะอาดปลอดภัย มีคู่มือแนะนำการใช้งาน มีช่องทางการติดต่อหรือสนับสนุนตัวตนของผู้ผลิต รวมถึงผู้จำหน่ายได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น

แนะนำชุดตรวจเอชไอวี อินสติ (INSti) ตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง รู้ผลภายใน 1 นาที

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองที่จะช่วยให้คุณรู้สถานะการติดเชื้อได้ในเวลาที่รวดเร็ว สามารถตรวจได้ง่าย ผลการตรวจแม่นยำ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขอย่างถูกต้อง ซึ่งใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก โดยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างง่ายดายผ่าน วิดีโอแนะนำ : ชุดตรวจเอชไอวี อินสติ Insti

ส่วนประกอบของชุดตรวจเอชไอวี อินสติ (INSti) มีอะไรบ้าง

  1. คู่มือการใช้งาน จำนวน 1 ชุด
  2. กล่องชุดตรวจ จำนวน 1 ชิ้น
  3. น้ำยาเจือจาง ฝาสีแดง หมายเลข 1 ขนาด 1.5 มล. จำนวน 1 ขวด
  4. น้ำยาปรับสี ฝาสีน้ำเงิน หมายเลข 2 ขนาด 1.5 มล. จำนวน 1 ขวด
  5. น้ำยาปรับความชัด ฝาขาวใส หมายเลข 3 ขนาด 1.5 มล. จำนวน 1 ขวด
  6. เข็มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว จำนวน 1 ชิ้น
  7. พลาสเตอร์ จำนวน 1 ชิ้น

วิธีการใช้งาน ชุดตรวจเอชไอวี อินสติ (INSti)

  • ตรวจสอบวันหมดอายุและความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการใช้งาน
  • ควรอ่านคู่มือการใช้งาน ข้อควรระวัง และข้อจำกัดในการใช้งานอย่างละเอียด
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจต่าง ๆ ว่ามีความเสียหายและครบถ้วนหรือไม่
  • ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้ง
  • เปิดอุปกรณ์ชุดตรวจ
  • วางอุปกรณ์ชุดตรวจบนพื้นผิวเรียบ ไม่ลาดชัน
  • เปิดขวดน้ำยาฝาสีแดง อย่างระมัดระวังและวางบนพื้นผิวเรียบ ไม่ลาดชัน
  • ทำการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว
    1. เปิดฝาเข็มเจาะเลือดให้พร้อมใช้งาน
    2. นวดคลึงปลายนิ้วที่ต้องการเจาะเลือด เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี
    3. ใช้มือข้างที่ถนัดจับเข็มโดยวางเข็มให้แนบสนิทกับปลายนิ้ว ด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่ปลายอุปกรณ์ หลังจากนั้นจะได้ยินเสียง “คลิ๊ก”
    4. ใช้มือข้างที่ถนัดบีบไล่ให้เลือดมีขนาดใหญ่
    5. หยดเลือดลงขวดน้ำยาสีแดง จำนวน 1 หยด แล้วปิดฝาทันที
    6. ปิดแผลเจาะเลือดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล
  • ทำการทดสอบผลเลือดตามคู่มือการใช้งาน

ประเด็นสำคัญ

การใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองเหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาแล้ว 90 วัน เนื่องจากอยู่ในระยะที่ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเชื้อเอชไอวี หากผู้ตรวจได้รับเชื้อแต่อยู่ในระยะฟักตัว อาจมีโอกาสตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ซึ่งผลการตรวจโดยชุดตรวจเอชไอวีอาจให้ผลเป็นลบ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วร่างกายมีเชื้อเอชไอวีอยู่นั่นเอง

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Scroll to Top