ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน?

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน และยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ คือ การติดเชื้อเอชไอวี โดยความอันตรายของโรคคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ จนในที่สุดเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยก็พบว่าตนเข้าสู่ระยะรุนแรง ซึ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้สูงกว่า ที่สำคัญไปกว่านั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย อาจมีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หากไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ในบืความนี้ จะกล่าวถึงการ ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน?

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหันมาให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อ การตรวจ HIV ตลอดจนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์ว่าหน่ึงในสิ่งแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทราบสถานะของตนได้อย่างทันท่วงที หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุด และยับยั้งการลุกลามของเชื้อเอชไอวีไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันหากรักษาได้เร็วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป แตกต่างจากเมื่อครั้งอดีตที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ที่ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตจากเอชไอวีมากมาย

การตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน

ความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การตรวจ HIV มีกระบวนการที่ยุ่งยากใช้เวลานาน นั่นเป็นเพราะว่าในอดีตการพัฒนาด้านการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังค่อนข้างยาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ผู้คนส่วนมากยังไม่เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เหล่านี้เท่าที่ควร ความจริงแล้วในปัจจุบันหากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องการเข้ารับการตรวจ HIV สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาในการตรวจเพียงไม่นานก็ทราบผล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุให้ การตรวจ HIV อยู่หลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ยังมีสถานพยาบาล คลินิก และมูลนิธิที่ให้บริการตรวจ HIV กระจายอยู่ทั่วประเทศมากมาย จึงสรุปได้ว่าการตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายมากขึ้น เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม ตลอดจนสามารถเลือกเข้าใช้บริการได้ตามความสะดวก

ในกรณีที่ ตรวจ HIV ไม่เจอ หรือ ผลลบ จะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน?

การตรวจ HIV มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งผลให้ผลการตรวจเป็นลบ ทั้งที่จริงแล้วร่างกายอาจมีเชื้อเอชไอวีอยู่ กรณีนี้ถูกพูดถึงในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากการรับเชื้อครั้งล่าสุด การรับยาต้านไวรัส หรือความผิดพลาดของการตรวจ HIV เป็นต้น ซึ่งเราได้รวบรวมมาอธิบายให้ได้ทำความเข้าใจดังต่อไปนี้

ระยะห่างในการตรวจ HIV

ระยะห่างในการตรวจ HIV

การตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีปัจจัยหนึ่ง อาจเกิดจากปริมาณเชื้อในร่างกาย ที่มีไม่มาพอให้สามารถตรวจพบได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วชุดตรวจ HIV ในปัจจุบันจะตรวจปริมาณไวรัสได้ต่ำที่สุดประมาณ 20 – 50 ซีซีของเลือด (copies) ดังนั้นหากผู้ตรวจ HIV เข้าตรวจเร็วกว่าเวลาที่เหมาะสม ประกอบกับใช้วิธีการตรวจที่ไม่เหมาะกับระยะห่างจากการติดเชื้อแล้วละก็ แน่นอนว่าความเป็นไปได้ที่จะตรวจ HIV ไม่เจอมีสูงมากด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้มีวิธีการตรวจ HIV ที่ทราบผลได้ในปริมาณไวรัสที่น้อย นั่นก็คือการตรวจแบบ NAT ที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงมีให้บริการเฉพาะสถานพยาบาลบางแห่งเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากไม่มั่นใจว่าควรตรวจเมื่อไรจึงจะเหมาะสมควรปรึกษาแพทย์ก่อนจึงจะดีที่สุด และในกรณีที่ตรวจ HIV ไม่พบ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งทุก ๆ 30 วันติดต่อกัน 3 ครั้ง จึงจะยืนยันได้ว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวีจริง

ผู้ที่ทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องจะ ตรวจ HIV ไม่เจอ

ผู้ที่ทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องจะ ตรวจ HIV ไม่เจอ

อีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้การตรวจ HIV ไม่พบเชื้อ คือหากผู้ตรวจรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะทำให้ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดมีค่าต่ำกว่า 50 ซีซีของเลือด (coppies) และส่งผลให้ตรวจ HIV ไม่พบ ทั้งที่ร่างกายมีเชื้อเอชไอวีอยู่ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าร่างกายไม่มีเชื้อหรือเชื้อเอชไอวีถูกทำลายจนหมด เมื่อหยุดทานยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีจะเพิ่มปริมาณขึ้นภายในเวลา 1 – 2 สัปดาห์ ในกรณีนี้หากผู้ที่รับยาต้านอยู่แล้วไม่มั่นใจว่าตนจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตรวจเพื่อประเมินระยะเวลาในการตรวจที่เหมาะสม

ข้อดีของการตรวจเอชไอวี มีดังนี้

  • ช่วยให้ผู้ตรวจทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง
  • ช่วยให้ผู้ตรวจเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทันที สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข
  • ช่วยให้ผู้ตรวจสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้
  • ช่วยให้ผู้ตรวจสามารถวางแผนการใช้ชีวิตได้
  • ช่วยให้ผู้ตรวจวางแผนป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ได้
  • ช่วยให้ผู้ตรวจมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม การตรวจ HIV ไม่เจอ หรือ ได้ผลการตรวจเป็นลบ (Negative หรือ Non-Reactive) เพียงครั้งเดียว ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวีได้ 100% จึงไม่ควรชะล่าใจต่อผลการตรวจ ทางที่ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด รวมถึงเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้งตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะได้รับการยืนยันจากแพทย์จึงจะมั่นใจได้ว่าคุณไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย

Scroll to Top