team admin

การติดเชื้อ HIV และ HPV ร่วมกัน

การติดเชื้อ HIV และ HPV ร่วมกัน

การติดเชื้อ HIV และ HPV ร่วมกัน มีโอกาสเป็นไปได้ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยแยกออกเป็น Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถพัฒนาจนกลายเป็นโรค AIDS (Acquired Immunodeficiency Syndrome) หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งติดต่อได้โดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากแม่สู่ลูก ตัวเชื้อไวรัสจะเเพร่กระจายตามกระแสเลือด ส่วน Human Papilloma Virus หรือ HPV ทำให้เกิดโรคหูดและบาดแผลในช่องคลอดและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ติดต่อโดยการสัมผัสเชื้อโดยตรง และเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก ดังจะเห็นได้ว่า ทั้งสองนี้เป็นเชื้อไวรัสเหมือนกัน และมีช่องทางการติดต่อที่คล้ายคลึงกัน จึงมีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อ HIV และ HPV ร่วมกันได้อย่างไม่น่าสงสัย

เอชไอวีและภาวะซึมเศร้า ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน

เอชไอวีและภาวะซึมเศร้า: ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน

ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อ ไวรัสเอชไอวีและภาวะซึมเศร้า อาจมีความซับซ้อนและท้าทาย บทความนี้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างสองโรค และให้ความเข้าใจในวิธีการจัดการกับสองโรคนี้

ตรวจ HSV เป็นอย่างไร มีวิธีไหนบ้าง?

ตรวจ HSV เป็นอย่างไร มีวิธีไหนบ้าง?

การตรวจ HSV หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “เริมที่อวัยวะเพศ” ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์เพล็กซ์ซิมเพล็กซ์ หรือภาษาอังกฤษว่า Herpes Simplex Virus (HSV) โรคนี้มักเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้บ่อย ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีเชื้อไวรัสเอชไอวีอยู่ในร่างกายก็สามารถมีโรคนี้แทรกซ้อนขึ้นมาได้หากไม่ได้ดูแลตัวเองอย่างดีพอ ตรวจ HSV ทำให้พบโรคใด การตรวจ HSV เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยโรคเริมที่อวัยวะเพศ การตรวจนี้สามารถทำได้โดยใช้ตัวช่วยเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจด้วยตัวเองที่บ้านก็ได้ คือ การตรวจเลือดจากแพทย์ที่สถานพยาบาล และการตรวจด้วยอุปกรณ์ชุดตรวจ (Rapid Test) โดยเชื้อ HSV จะเป็นการติดเชื้อที่เกิดบริเวณผิวหนัง จากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดแผลเป็นรอยเจ็บปวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ โรคเริมที่อวัยวะเพศ จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแผล ผ่านทางเพศสัมพันธ์ที่ช่องคลอดหรือรูทวารหนัก บางครั้งเชื้อนี้ก็สามารถแพร่กระจายไปยังคู่นอนได้ แม้ไม่มีแผลที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เชื้อ HSV นี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ ถึงแม้ว่าแผลเริมในครั้งแรกของคุณจะหายไปแล้วก็ตาม แต่อาจไม่มีอาการที่รุนแรงเท่ากับครั้งแรกที่ได้รับเชื้อมา กลุ่มใดที่ควรทำการ ตรวจ HSV การที่จะ ตรวจ HSV นั้นจะเริ่มต้นด้วยการตรวจหาไวรัสในร่างกายของคุณ …

ตรวจ HSV เป็นอย่างไร มีวิธีไหนบ้าง? Read More »

การตรวจเอชไอวี ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

การตรวจเอชไอวี ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

การตรวจเอชไอวี (HIV) เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการดูแลสุขภาพของเรา โรคเอชไอวีเป็นโรคที่ติดต่อได้และมีผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของบุคคลอย่างมาก แต่หากได้รับการตรวจและรักษาให้ถูกต้อง การจัดการกับโรคนี้สามารถทำได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น การตรวจเอชไอวี (HIV) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อของเชื้อไวรัส HIV ในประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส HIV อย่างกว้างขวาง การตรวจเอชไอวีสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV และส่งเสริมสุขภาพของบุคคลในกลุ่มเสี่ยงอย่างมาก ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวีมีอยู่หลายด้าน ดังนี้ ใครบ้างควรตรวจเอชไอวี การตรวจเอชไอวี เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เช่น การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะการตรวจสอบการติดเชื้อเอชไอวี สามารถช่วยในการป้องกันการแพร่เชื้อได้ และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันเวลา ตรวจเอชไอวีที่ไหนดี การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้คนควรให้ความสำคัญ โดยการไปตรวจสามารถทำได้ที่หน่วยบริการสุขภาพหลายแห่ง ดังนี้ ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้คนควรให้ความสำคัญ และขั้นตอนการตรวจเอชไอวีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1: การตรวจเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2: การตรวจหาเชื้อเอชไอวี อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมที่นี่

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี

การตรวจเอชไอวี เพื่อตรวจหาไวรัสเอชไอวี ( HIV : Human Immunodeficiency Virus ) เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ซึ่งส่งผลต่อระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่า CD4 และทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ จะทราบได้อย่างไรว่าควรตรวจเอชไอวีแล้วหรือยัง? แน่นอนว่าในเมื่อเอชไอวีเป็นต้นตอของผลกระทบของร่างกายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การตระหนักรู้ถึงการตรวจเอชไอวีจึงเป็นทางเลือกควบคู่ไปกับการป้องกันที่ดีร่วมด้วย โดยไม่สามารถกล่าวได้ว่าทางเลือกไหนควรทำมากกว่าหรือน้อยไปกว่ากัน ซึ่งคุณจะทราบได้อย่างไรว่าควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีแล้วหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และความพึงพอใจในการป้องกันของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วในระยะเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน นับว่าเป็นการยากหากจะใช้การสังเกตอาการของตนแล้วค่อยเข้ารับการตรวจยืนยัน เพราะอาจทำให้เข้าสู่ระยะที่ลุกลามสู่โรคอื่น ๆ แล้วก็เป็นได้ ดังนั้นการตรวจเอชไอวีจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เหมือนกับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ทั้งนี้ควรมองว่าเอชไอวีสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และลดการมองในแง่ลบต่อเอชไอวี ตลอดจนผู้ติดเชื้อหรือการตีตราผู้เข้าตรวจเอชไอวีด้วย จะทำให้แง่มุมต่อการตรวจเอชไอวี การรักษาเอชไอวี การป้องกันเอชไอวี เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ส่งผลต่อการตีตราทางสังคมที่ในปัจจุบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตรวจ เอชไอวี กี่วันรู้ผล? คำถามยอดฮิตที่หลายคนยังคงมีความสงสัยก่อนเริ่มทำการตรวจเอชไอวี ด้วยความที่ช่วงเวลาในการรอผลตรวจนั้น ส่งผลต่อความกังวลใจต่าง ๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่อาจติดเชื้อ แนวทางการรักษา ความกังวลใจต่อการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอน ตลอดจนเรื่องสำคัญอย่างการรับมือของบุคคลในครอบครัว สิ่งเหล่านี้เองทำให้ช่วงเวลาในการทราบผล …

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี Read More »

CD4 กับ Viral load คืออะไร ?

เมื่อเราติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว ไวรัสเอชไอวีจะเจาะเข้าไปในเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้ CD4 จำนวนลดลง  เมื่อ CD4  ลดลง ปริมาณ Viral Load เพิ่มขึ้น  เมื่อมีเชื้อเอชไอวี( HIV) อยู่ในร่างกายนานๆ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายมากขึ้นนั่นเอง CD4 คืออะไร CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในคนที่ร่างกายปกติก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ CD4 เช่นเดียวกัน เชื้อไวรัสเอชไอวี มีผลมาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ที่สำคัญนี้โดยตรง …

CD4 กับ Viral load คืออะไร ? Read More »

PrEP และ PEP คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

การแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ยาต้านไวรัสของโรค HIV ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมากแล้ว นอกจากกลุ่มยาที่มีไว้รักษาโดยการต้านเชื้อ ก็ยังมียาที่ทำงานด้วยจุดประสงค์อื่น คือการป้องกันเชื้อ HIV ออกมาให้คนทั่วไปได้รับไปทาน ซึ่งยาเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่มีเชื้อ HIV ในการป้องกันโรคหลังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ HIV ได้ซึ่งยาเหล่านี้มีชื่อว่ายา PrEP และ PEP PrEP และ PEP คืออะไร? PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEP และ PEP เหมาะกับใครบ้าง ? PrEP ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น PEP ผู้ที่คิดว่าตนเองอาจสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ทราบผลการติดเชื้อ …

PrEP และ PEP คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? Read More »

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน?

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน และยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ คือ การติดเชื้อเอชไอวี โดยความอันตรายของโรคคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ จนในที่สุดเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยก็พบว่าตนเข้าสู่ระยะรุนแรง ซึ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้สูงกว่า ที่สำคัญไปกว่านั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย อาจมีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หากไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหันมาให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อ การตรวจ HIV ตลอดจนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์ว่าหน่ึ่งในสิ่งแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทราบสถานะของตนได้อย่างทันท่วงที หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุด และยับยั้งการลุกลามของเชื้อเอชไอวีไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันหากรักษาได้เร็วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป แตกต่างจากเมื่อครั้งอดีตที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ที่ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตจากเอชไอวีมากมาย การตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน ความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การตรวจ HIV มีกระบวนการที่ยุ่งยากใช้เวลานาน นั่นเป็นเพราะว่าในอดีตการพัฒนาด้านการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังค่อนข้างยาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ผู้คนส่วนมากยังไม่เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เหล่านี้เท่าที่ควร ความจริงแล้วในปัจจุบันหากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องการเข้ารับการตรวจ HIV สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาในการตรวจเพียงไม่นานก็ทราบผล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุให้ การตรวจ HIV อยู่หลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง …

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน? Read More »

HIV Self test ชุดตรวจเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี ไวรัสเอชไอวี เอดส์ ชุดตรวจอินสติ HIV test

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test)

ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย มีเกณฑ์การลดลงอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนที่น่าพึงพอใจ เนื่องด้วยความมุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบายในการยุติปัญหาเอดส์และเอชไอวี ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2573 อย่างร่วมมือร่วมใจจากหลายภาคส่วน ทำให้เป้าหมายหลักทั้ง 3 ประการ นั่นก็คือ การลดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ การลดพฤติกรรมถูกเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้ความรู้ รวมไปถึงแนวทางการตรวจเอชไอวี ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันโดยวิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์มีด้วยกันทั้งหมด 4 วิธี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ตรวจอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลเท่านั้น โดยมีวิธีการดังนี้ HIV p24 antigen testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา antigen ของเชื้อไวรัส HIV ด้วยเชื้อโปรตีน p24 antigen Anti-HIV testing : การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหา Anti-HIV จำเพาะ HIV Ag/Ab combination assay : การตรวจเอชไอวีโดยใช้ชุดตรวจที่สามารถตรวจได้ทั้ง HIV p24 antigen และ/หรือ Anti-HIV ในครั้งเดียว NAT …

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test) Read More »

กลุ่มเสี่ยงเอชไอวี เอชไอวี เอดส์ ไวรัสเอชไอวี ตรวจเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถคิดค้นแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่วงการแพทย์ยังคงเดินหน้าทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยทั่วโลก รวมไปถึงการลดปริมาณผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเอดส์ให้มากที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมายนี้เองทำให้เกิดการรณรงค์และกระตุ้นการรับรู้ ถึงความร้ายแรงของเชื้อเอชไอวีควบคู่ไปกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อลักษณะอาการ การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับปรับทัศนคติที่ยังเกิดความเข้าใจผิดในปัจจุบันให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น โดยจากข้อมูลรายงานเมื่อปี 2532 จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ที่ได้มีการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 ปี โดยการสุ่มตรวจจากติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเป้าหมายที่จัดอยู่ในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 8 กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ กลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ซึ่งจากข้อมูลขณะนั้นพบว่าเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยต่อเนื่องมาถึง ปี 2551 พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นมากถึง 48% โดยสิ่งที่ยังคงเป็นช่องโหว่อย่างเห็นได้ชัดในช่วงสมัยนั้น คือความหละหลวมในการเฝ้าระวังที่ไม่รัดกุม จากรายงานพบข้อมูลผู้ติดเชื้อเพียง 9 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลด้านเอชไอวีภายในประเทศไทย ยังไม่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน กลุ่มชายรักชายที่เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือมีประวัติการรักษาในรอบปีที่ผ่านมา กลุ่มชายที่ทำอาชีพขายบริการทางเพศ รวมถึงกลุ่มชาวประมงและกลุ่มแรงงานต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทยในช่วงนั้นมีอัตราเสี่ยงใกล้เคียงกัน กลุ่มหญิงที่ทำอาชีพขายบริการทางเพศทางตรง ซึ่งประกอบอาชีพนี้เป็นหลักโดยไม่มีอาชีพอื่น ๆ ประกอบ กลุ่มหญิงที่ขายบริการทางเพศทางอ้อม หรือ ประกอบอาชีพขายบริการแอบแฝงเป็นครั้งคราว กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการฝากครรภ์ในสถานพยาบาล กลุ่มชายที่เข้าประจำการทหาร ซึ่งในช่วงนั้นพบสูงสุดในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสุดท้ายคือภาคใต้ …

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี Read More »

Scroll to Top
Scroll to Top