June 2024

สมาคมฟ้าสีรุ้ง แห่งประเทศไทย (RSAT)

ด้วยความตระหนักถึงความท้าทายด้านสุขภาพและสิทธิที่ประชากรกลุ่มความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญ การก่อตั้ง สมาคมฟ้าสีรุ้ง แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 ได้สะท้อนถึงพลังแห่งความร่วมมือ และความมุ่งมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่สังคมไทย แนวคิดชื่อ “ฟ้าสีรุ้ง”“ฟ้าสีรุ้ง” หมายถึง ฟ้าที่มีสายรุ้งพาดหลังพายุฝนผ่านไป เสมือนสังคมที่ผ่านช่วงเลวร้ายเป็นสังคมที่ผ่านการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ แล้ว ประวัติของ สมาคมฟ้าสีรุ้ง ย้อนรอยไปในช่วงต้นทศวรรษ 2540 เมื่อมีรายงานผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ในกลุ่มกะเทย และชายรักชายเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก แต่กลับขาดแคลนการดำเนินงานเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว จึงนำไปสู่การรวมตัวของอาสาสมัครในการให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อ ต่อมาได้จัดเสวนาปัญหาด้านเพศที่สำคัญในปี 2542 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของ “ชมรมเส้นทางสีรุ้ง” หลังจากนั้น ชมรมฯ ได้ระดมความคิดเห็นจากชุมชนต่างๆ และกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียม พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “กลุ่มฟ้าสีรุ้ง” ในปี 2543 และ “องค์กรฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย” ในปี 2544 ตามลำดับ อีกหนึ่งผลงานสำคัญคือการสำรวจความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายในกรุงเทพฯ ครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งพบอัตราการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 17.8 ทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างกว้างขวางและเป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่างๆ ในประเด็นนี้เกิดขึ้นมากมาย จนนำไปสู่การจดทะเบียนเป็น “สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการในปีเดียวกัน วิสัยทัศน์ “VISION” LGBTIQN+ ในประเทศไทยต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับสิทธิและมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมโดยปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติ พันธกิจ […]

สมาคมฟ้าสีรุ้ง แห่งประเทศไทย (RSAT) Read More »

มูลนิธิเอ็มพลัส (M Plus Foundation) ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพัน

มูลนิธิเอ็มพลัส (M Plus Foundation) ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลนิธิเอ็มพลัส ได้ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรนำในการรณรงค์เพื่อสิทธิ และความเท่าเทียมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยเฉพาะในประเด็นการป้องกันและรับมือกับโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมักประสบอุปสรรคในการเข้าถึงบริการจากอคติและการเลือกปฏิบัติ การดำเนินงานหลักของมูลนิธิฯ คือการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และบริการด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่กลุ่มชายรักชาย ชายขายบริการทางเพศ และสาวประเภทสอง โดยมีศูนย์ดรอปอินเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษา แจกอุปกรณ์ป้องกันเช่นถุงยางอนามัย ตลอดจนบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีฟรี นอกจากนี้ ยังมีโครงการพี่เลี้ยงเพื่อนสู่เพื่อน ที่เจ้าหน้าที่จะออกไปทำกิจกรรมเชิงรุกให้ความรู้เรื่องการป้องกันเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพื้นที่ต่างๆ อาทิ สถานบริการทางเพศ บาร์เกย์ หรือแหล่งชุมชน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง มูลนิธิฯ ยังดำเนินโครงการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ เจ้าของสถานบริการ และคุณครู เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ และการไม่เลือกปฏิบัติ ประวัติของ มูลนิธิเอ็มพลัส มูลนิธิเอ็มพลัสก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ภายใต้ชื่อ “โครงการเพื่อชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ” ด้วยทุนสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) จนกระทั่งจดทะเบียนเป็นมูลนิธิอย่างเป็นทางการในปี 2554 ปัจจุบันเอ็มพลัสก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เอ็มพลัส ดำเนินกิจกรรมเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรหลักได้แก่ ชายรักชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติด และเยาวชน โดยมุ่งลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่

มูลนิธิเอ็มพลัส (M Plus Foundation) ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Read More »

Scroll to Top