มูลนิธิเอ็มพลัส (M Plus Foundation) ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพัน

มูลนิธิเอ็มพลัส (M Plus Foundation) ศูนย์บริการแบบครอบคลุม ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลนิธิเอ็มพลัส ได้ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรนำในการรณรงค์เพื่อสิทธิ และความเท่าเทียมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยเฉพาะในประเด็นการป้องกันและรับมือกับโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมักประสบอุปสรรคในการเข้าถึงบริการจากอคติและการเลือกปฏิบัติ การดำเนินงานหลักของมูลนิธิฯ คือการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และบริการด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่กลุ่มชายรักชาย ชายขายบริการทางเพศ และสาวประเภทสอง โดยมีศูนย์ดรอปอินเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษา แจกอุปกรณ์ป้องกันเช่นถุงยางอนามัย ตลอดจนบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีฟรี

นอกจากนี้ ยังมีโครงการพี่เลี้ยงเพื่อนสู่เพื่อน ที่เจ้าหน้าที่จะออกไปทำกิจกรรมเชิงรุกให้ความรู้เรื่องการป้องกันเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพื้นที่ต่างๆ อาทิ สถานบริการทางเพศ บาร์เกย์ หรือแหล่งชุมชน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง มูลนิธิฯ ยังดำเนินโครงการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ เจ้าของสถานบริการ และคุณครู เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ และการไม่เลือกปฏิบัติ

ประวัติของ มูลนิธิเอ็มพลัส

มูลนิธิเอ็มพลัสก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ภายใต้ชื่อ “โครงการเพื่อชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ” ด้วยทุนสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) จนกระทั่งจดทะเบียนเป็นมูลนิธิอย่างเป็นทางการในปี 2554 ปัจจุบันเอ็มพลัสก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ

เอ็มพลัส ดำเนินกิจกรรมเพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรหลักได้แก่ ชายรักชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติด และเยาวชน โดยมุ่งลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตจากเอดส์ และต่อต้านการตีตราเนื่องจากความแตกต่างทางเพศ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการยุติเอดส์ภายในปี 2573 ตามแผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติ

โดยมูลนิธิฯ ดำเนินงานตามรูปแบบ KPLHS หรือการให้บริการสุขภาพที่นำโดยชุมชนกลุ่มประชากรหลัก ซึ่งทำให้มั่นใจว่าชุดบริการตรงตามความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายภายใต้มาตรฐานของประเทศ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ การคัดกรอง การสนับสนุน การตรวจหาเชื้อ การรักษา การป้องกัน และการดูแลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เอ็มพลัสยังร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์ในการจัดบริการป้องกันเอชไอวีก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) ตาม “นครพิงค์โมเดล” ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการขยายบริการ PrEP ไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

วิสัยทัศน์

LGBTQI+ ทุกคนและกลุ่มประชากรหลัก โดยเฉพาะเยาวชน สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากบริการ เอชไอวี/สุขภาวะทางเพศ และจากบริการทางสังคมที่พวกเขาต้องการ ด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกัน

พันธกิจ

เพื่อเป็นผู้นำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและสิทธิของ LGBTQI+ – บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และให้บริการที่ครอบคลุมโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เช่น สุขภาพทางเพศ การคุ้มครองทางสังคม และการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

  1. เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ LGBTQI+ ทุกคน
  2. เพื่อเร่งการยุติโรคเอดส์และคงไว้ซึ่งการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการขยายบริการ SRHR/STI/HIV ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางสำหรับประชากรหลักทั้งหมด โดยเฉพาะประชากรหลักที่เป็นวัยรุ่น หรือเยาวชน อายุ 10-24 ปี
  3. เสริมสร้างศักยภาพภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน
  4. เพื่อพัฒนาโครงการด้านเอชไอวี/สุขภาพของประชากรที่สำคัญผ่านการถ่ายทอดความรู้และทักษะในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  5. เพื่อเพิ่มความยั่งยืนของโปรแกรมผ่านความร่วมมือและการกระจายทรัพยากร

ประชากรเป้าหมาย

  • LGBTQI+: เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล คนข้ามเพศ เควียร์ คนที่ไม่ใช่ไบนารี เพศตรงข้าม และกะเทย – LGBTQI+ รุ่นเยาว์
  • ประชากรหลัก: MSM, TGW, SW, PWID และ KP ที่เป็นวัยรุ่น หรือเยาวชน (10-24 ปี)
  • MSM : Men Who have sex with men (ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย)
  • TGW : Transgender Women (สาวประเภทสอง หญิงข้ามเพศ)
  • MSW : Male sex Worker (พนักงานบริการชาย)
  • FSW : Female Sex Worker (พนักงานบริการหญิง)

มูลนิธิเอ็มพลัส มีบริการอะไรบ้าง ?

ตรวจเอชไอวี
ตรวจซิฟิลิส
ตรวจระดับภูมิคุ้มกัน CD4
ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี
บริการยาเพร็พ / เป๊ป ร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์
ตรวจวัดระดับอร์โมน (หญิงข้ามเพศ / สาวประเภทสอง)
ตรวจไวรัลโหลด Viral load
ให้คำปรึกษาสุขภาพทางเพศ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
บริการถุงยางอนามัย และสารหล่อลื่น

มูลนิธิเอ็มพลัส มีกี่สาขา ?

มูลนิธิเอ็มพลัสตั้งสำนักงานมูลนิธิ และ ขึ้นทะเบียนเป็นคลินิกเทคนิคการแพทย์ 4 แห่ง ได้แก่

สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สำนักงานใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สำนักงานใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่
  • สถานที่ตั้ง : ถนนเชียงใหม่-ฮอด ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • เบอร์โทรศัพท์ : 0993714666
  • อีเมล : mplusfoundation.cm@gmail.com
  • จองคิวตรวจ สาขาเชียงใหม่ : https://www.love2test.org/appointment/mplus-thailand

สำนักงาน มูลนิธิเอ็มพลัส สาขาเชียงราย

  • สถานที่ตั้ง : 997/5 ถ.สถานพยาบาล ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
  • เบอร์โทรศัพท์ : 052 026 357
  • อีเมล : mplus.cri@mplusthailand.com
  • จองคิวตรวจ สาขาเชียงราย : https://www.love2test.org/appointment/mplus-chiangrai

สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สาขาพิษณุโลก

สำนักงานมูลนิธิเอ็มพลัส สาขาพิษณุโลก
  • สถานที่ตั้ง : 262/19-22 ถนนราษฎร์อุทิศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
  • เบอร์โทรศัพท์ : 097 146 2723
  • อีเมล : mplus.plk@mplusthailand.com
  • จองคิวตรวจ สาขาพิษณุโลก : https://www.love2test.org/appointment/mplus-phitsanulok

สำนักงาน มูลนิธิเอ็มพลัส สาขานครราชสีมา

  • สถานที่ตั้ง : 564/1 ถนนช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
  • เบอร์โทรศัพท์ : 098 945 2699
  • อีเมล : mplus.nma@mplusthailand.com
  • จองคิวตรวจ สาขานครราชสีมา : https://www.love2test.org/appointment/mplus-nakhon-ratchasima

ด้วยความมุ่งมั่นของมูลนิธิเอ็มพลัส ที่ทำงานเพื่อสร้างสังคมที่เปิดกว้าง และเคารพสิทธิของทุกคนอย่างเท่าเทียม จึงเป็นก้าวสำคัญในการลดอคติ และการกีดกันต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม

Scroll to Top