สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี
การตรวจเอชไอวี คือก้าวแรกสู่การดูแลตัวเองอย่างแท้จริง เมื่อคุณรู้สถานะของตัวเอง คุณก็พร้อมจะเลือกทางที่ดีที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณ
ฉันควรตรวจเอชไอวีหรือไม่?
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และโรคติดเชื้อ สภากาชาดไทย แนะนำว่าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 13–64 ปี ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต แต่หากมีพฤติกรรม หรือปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจบ่อยกว่านั้น โดยเฉพาะหากคุณ:
- เป็นผู้ชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย
- เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือช่องคลอดกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี
- มีคู่นอนหลายคน หลังจากการตรวจครั้งล่าสุด
- เคยใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- เคยมีเพศสัมพันธ์ แลกกับยาเสพติดหรือเงิน
- เคยได้รับการวินิจฉัย หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- เคยได้รับการวินิจฉัย หรือรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ หรือวัณโรค
- มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ตามรายการข้างต้น หรือกับคนที่คุณไม่รู้ประวัติทางเพศของเขา
ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนใหม่เป็นครั้งแรก ควรพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับ: ประวัติทางเพศของกันและกัน การใช้ยาเสพติด (ถ้ามี) สถานะเอชไอวีของแต่ละฝ่าย และที่สำคัญ ควรพิจารณาการตรวจเอชไอวีร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจ และเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

ประเภทของการตรวจเอชไอวี และแต่ละแบบทำงานอย่างไร?
การตรวจเอชไอวีมีอยู่ 3 ประเภทหลัก โดยแต่ละแบบมีจุดเด่นและการทำงานที่แตกต่างกัน:
1.การตรวจแอนติบอดี (Antibody Test)ตรวจหาแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเชื้อเอชไอวี- ใช้ตัวอย่างจากเลือด หรือสารคัดหลั่งในช่องปาก
- ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-test) ที่ได้รับการรับรองจาก FDA เป็นการตรวจแบบนี้
- โดยทั่วไป การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ ให้ผลแม่นยำ และตรวจพบเชื้อได้เร็วกว่าแบบเจาะปลายนิ้วหรือใช้น้ำลาย
- เป็นการตรวจที่ใช้กันทั่วไปในห้องปฏิบัติการ
- ใช้ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำ
- มีแบบตรวจเร็วที่ใช้เลือดจากปลายนิ้วได้เช่นกัน
- เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ ส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ
- สามารถบอกได้ว่า "ติดเชื้อหรือไม่" และตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือด (Viral Load) ได้ด้วย
- ตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดในบรรดาการตรวจทุกประเภท
- เหมาะกับผู้ที่ เพิ่งมีความเสี่ยง หรือเริ่มมีอาการของเอชไอวีระยะเริ่มต้น และตรวจแบบอื่นแล้วไม่พบเชื้อ

ผลตรวจเอชไอวีเป็นลบ หมายความว่าอย่างไร?
ผลเป็นลบ (Negative) ไม่ได้หมายความว่าคุณ "ไม่มีเชื้อ" เสมอไป เพราะอาจอยู่ในระยะฟักตัว (Window Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างที่ได้รับเชื้อกับช่วงที่การตรวจสามารถตรวจพบเชื้อได้
- หากคุณตรวจหลังจากมีความเสี่ยง และผลออกมาเป็นลบ:คุณควรตรวจซ้ำหลังจากพ้นระยะฟักตัว ตามประเภทของการตรวจที่คุณใช้ (เช่น 2–4 สัปดาห์สำหรับการตรวจ NAT หรือ 3 เดือนสำหรับการตรวจแอนติบอดี)
- หากตรวจซ้ำหลังพ้นระยะฟักตัวไม่มีความเสี่ยงเพิ่ม และผลยังเป็นลบ แสดงว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี หากคุณยังมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
คุณควร:
- ตรวจเอชไอวีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- พิจารณาใช้ ยาป้องกันก่อนสัมผัส (PrEP)หรือมาตรการอื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ผลตรวจเอชไอวีเป็นบวก หมายความว่าอย่างไร?
หากคุณตรวจเอชไอวีด้วยวิธีใดก็ตาม แล้วผลออกมาเป็นบวก (Positive) คุณจำเป็นต้องตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลให้แน่ชัด กรณีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น:
- หากคุณตรวจด้วยตนเอง (HIV Self-Test) หรือผ่านโครงการตรวจในชุมชน และผลออกมาเป็นบวก → ควรไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจยืนยันเพิ่มเติม
- หากคุณตรวจในโรงพยาบาล หรือห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หากผลเบื้องต้นเป็นบวก → ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจยืนยันทันที โดยใช้ตัวอย่างเลือดเดียวกันกับการตรวจครั้งแรก หากผลตรวจยืนยันซ้ำ ก็ออกมาเป็นบวกเช่นกัน นั่นหมายความว่า คุณติดเชื้อเอชไอวีจริง
การตรวจยืนยันมีความสำคัญมาก เพราะอาจมีผลบวกลวง (False Positive) ได้ในบางกรณี ดังนั้น อย่าเพิ่งด่วนสรุปจากผลตรวจครั้งเดียว และควรเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยเร็ว เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดในระยะยาว