atFirst Clinic แนะนำ 10 เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีดยา PrEP – ป้องกัน HIV ได้อย่างมั่นใจในยุคใหม่

กรุงเทพฯ – มิถุนายน 2568 – ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ก็ได้พัฒนาไปอีกขั้นด้วย ยา PrEP แบบฉีด (Injectable PrEP) ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีเดิมอย่างชัดเจน

atFirst Clinic คลินิกเฉพาะทางด้านสุขภาพทางเพศ ใจกลางกรุงเทพฯ ขอเชิญทุกคนมาทำความเข้าใจ “10 เรื่องที่ควรรู้ก่อนฉีดยา PrEP” เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ และมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

 

1. ยา PrEP แบบฉีด คืออะไร?

ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ HIV ที่ใช้ “ก่อนมีความเสี่ยง” โดยปกติแล้วจะเป็นแบบเม็ด รับประทานวันละเม็ดทุกวัน แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็น ยาแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แล้ว โดยใช้ตัวยา Cabotegravir ขนาด 600 มิลลิกรัม (3 ml) ฉีดเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพกทุกๆ 2 เดือน

 

2. แบบฉีดกับแบบกิน อันไหนดีกว่า?

งานวิจัยจากหลายประเทศยืนยันตรงกันว่า ยา PrEP แบบฉีดให้ประสิทธิภาพในการป้องกัน HIV สูงกว่าแบบกินถึง 60% เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาการกินยาอย่างสม่ำเสมอ และลดความผิดพลาดจากการลืมกินยาได้อย่างชัดเจน

 

3. ใครสามารถฉีดยา PrEP ได้บ้าง?

ทุกคนสามารถใช้ยา PrEP แบบฉีดได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือบุคคลข้ามเพศ ตัวยามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันทุกเพศ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนมีบุตร ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

 

4. ต้องตรวจเลือดก่อนฉีดยาหรือไม่?

แน่นอนว่า การตรวจเลือดก่อนฉีดยาเป็นมาตรฐานสากล เพื่อประเมินสถานะสุขภาพก่อนเริ่มใช้ยา และยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ HIV อยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการรักษา

 

5. ขั้นตอนก่อนฉีดต้องกินยาด้วย?

ใช่ครับ ก่อนฉีดยา อาจมีการแนะนำให้รับประทานยา Cabotegravir วันละเม็ด ประมาณ 1 เดือน เพื่อสังเกตผลข้างเคียง หากไม่มีปัญหาใดๆ แพทย์จะนัดฉีดเข็มแรก จากนั้น ฉีดเข็มที่สองในอีก 1 เดือน และฉีดต่อทุกๆ 2 เดือน

 

6. ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง?

ยา PrEP แบบฉีดมีผลข้างเคียงน้อย ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรง เช่น

  • ปวดบริเวณที่ฉีด
  • คลื่นไส้
  • ปวดหัว
  • ท้องเสีย
  • มีไข้

อาการเหล่านี้มักหายไปได้เองในเวลาไม่นาน หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

7. ถ้ากินยา PrEP อยู่แล้ว จะเปลี่ยนมาแบบฉีดได้ไหม?

สามารถเปลี่ยนได้! หากคุณเคยใช้ยา PrEP แบบเม็ดอยู่แล้ว และต้องการเปลี่ยนมาใช้แบบฉีด สามารถทำได้โดยไม่มีปัญหา เพียงแจ้งแพทย์ก่อนเริ่มต้น เพื่อปรับแผนการดูแลอย่างเหมาะสม

 

8. ถ้านัดฉีดแล้วไปไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?

หากไม่สามารถมาฉีดยาตรงตามวันนัดได้ สามารถเลื่อนนัดได้ภายใน 7 วัน ก่อนหรือหลังนัด เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

9. ฉีดยาแล้ว ยังต้องใช้ถุงยางไหม?

ยา PrEP แบบฉีด สามารถป้องกันได้เฉพาะ HIV เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ เช่น

  • หนองใน
  • ซิฟิลิส
  • เริม
  • หูดหงอนไก่ ฯลฯ

ดังนั้นจึง ยังคงแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อการป้องกันอย่างรอบด้าน

 

10. หาซื้อยาฉีด PrEP เองได้ไหม?

ไม่ได้ครับ ยา PrEP แบบฉีดต้องได้รับการฉีดโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีใบอนุญาต ณ สถานพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อทางร้านขายยาหรือช่องทางออนไลน์ได้ เพราะการใช้ยาต้องมีการตรวจเลือดและติดตามอาการอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์

 

บริการฉีดยา PrEP พร้อมแล้วที่ atFirst Clinic

atFirst Clinic พร้อมให้บริการฉีดยา PrEP โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาแบบเป็นกันเอง เข้าใจคุณ และใส่ใจในทุกรายละเอียดของสุขภาพทางเพศ เพราะเราเชื่อว่า “การป้องกันที่ดีเริ่มจากการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี”

เราพร้อมให้บริการสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ทุกตัวตน

 

#sexualhealth #PrEP #PEP #HIV #ซิฟิลิส #STD #STI #HPV
#ยาต้าน #ถุงยางฟรี #ตรวจเลือด #ถุงแตก #ถุงหลุด
#หูด #หนองใน #atfirstclinic #prepinjectable #prepinjection #cabotegravir