PrEP และ PEP คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

PrEP และ PEP คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

การแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ยาต้านไวรัสของโรค HIV ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมากแล้ว นอกจากกลุ่มยาที่มีไว้รักษาโดยการต้านเชื้อ ก็ยังมียาที่ทำงานด้วยจุดประสงค์อื่น คือการป้องกันเชื้อ HIV ออกมาให้คนทั่วไปได้รับไปทาน ซึ่งยาเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่มีเชื้อ HIV ในการป้องกันโรคหลังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ HIV ได้ซึ่งยาเหล่านี้มีชื่อว่ายา PrEP และ PEP

PrEPและPEP คืออะไร?

PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ

PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

PrEPและPEP เหมาะกับใครบ้าง ?

PrEP

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

PEP

  • ผู้ที่คิดว่าตนเองอาจสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ทราบผลการติดเชื้อ ถุงยางอนามัยฉีกขาด เป็นต้น
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน
  • บุคลากรสาธารณสุขที่ถูกเข็มฉีดยาของผู้ป่วยทิ่มตำ

ประโยชน์ของ PrEP และ PEP คืออะไร?

PrEP ยาต้านไวรัสเอชไอวี แก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น PrEP สามารถให้ได้ทั้งในรูปยากิน หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ในรูปเจลผสมยาต้านไวรัสใส่ในช่องคลอด หรือในทวารหนัก และห่วงบรรจุยาต้านใส่ในช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ทันท่วงทีหลังการสัมผัสเชื้อ และเป็นการเพิ่มการป้องกันต่อการติดเชื้อ HIV

PEP ยาต้านไวรัสไอวีที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อ ซึ่งมาจากหลายรูปแบบ อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น

PrEPและPEP กินอย่างไร ?

PrEPและPEP กินอย่างไร ?

  • กินยา PrEP เป็นประจำทุกวัน วันละ 1 เม็ด แพทย์จะนัดทุก 3 เดือน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา ถ้าไม่มีความเสี่ยงแล้ว สามารถหยุดได้หลังมีความเสี่ยงครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์
  • กินยา PEP ต้องได้รับทันที ห้ามเกิน 72 ชั่วโมง ทานวันละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 28 วัน มีสูตรยาหลายสูตรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

จะรับ PrEPและPEP ได้อย่างไร ?

การรับ PrEP

  • งดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับ PrEP
  • ผู้มารับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี การทำงานของตับและไต 
  • หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน 
  • หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง

การรับ PEP

  • ก่อนที่ผู้รับบริการจะรับยา PEP แพทย์จะซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยา PEP หรือไม่ 
  • แพทย์จะสั่งตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยา PEP
  • หากติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยา PEP ได้
  • หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเอชไอวีซ้ำ 1 เดือน และ 3 เดือน 
  • งดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ผลข้างเคียงของยา PrEPและPEP 

ผลข้างเคียงของยา PrEPและPEP 

  • PrEP  มีอาการคลื่นไส้และน้ำหนักลดหลังได้รับยาในระยะแรก ผลข้างเคียงระยะยาวพบได้น้อย ได้แก่ ผลต่อการทำงานต่อไต 
  • PEP มีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน

ความแตกต่างระหว่างยา PrEP และ PEP

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง PrEPและPEP คือช่วงเวลาในการทานยา เพราะฉะนั้นใครที่ต้องการรับยาควรเข้าปรึกษาแพทย์และทำการตรวจเลือดก่อนรับยาไปทาน เพื่อการป้องกัน HIV อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และหากรับไปแล้วก็ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อ HIV

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Scroll to Top