การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ HIV มีหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบันนี้คือการกินยาเพร็พ ซึ่งเป็นยาป้องกันเชื้อเอชไอวี การกิน PrEP ทำได้ง่าย มีประสิทธิภาพในการป้องกันค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการป้องกันแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
เพร็พ คืออะไร
PrEP (เพร็พ) Pre-exposure prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่ไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย ซึ่งผู้รับยาต้องใช้ยานี้ก่อนมีกิจกรรมเสี่ยง ตัวยาจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อตัวยาในร่างกายมีสูงมากพอจะสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อเอชไอวีเกาะกับเม็ดเลือดขาวได้
ใครมีความจำเป็นต้องกิน PrEP บ้าง
เพร็พ เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่เป็นผู้ติดเชื้อที่ใช้ชีวิตแบบมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีคู่นอนหลายคน
- ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
- ทำอาชีพบริการทางเพศ
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่สวมถุงยางอนามัย
- ใช้ยาเสพติดด้วยเข็มฉีดยา
- มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
- รับยาเป๊ป (PEP) เป็นประจำ แต่ไม่สามารถเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้
ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ จำเป็นต้องป้องกันแบบอื่นด้วยไหม
มีผลการศึกษาวิจัยหลายแหล่งยืนยืนว่า เพร็พ มีความสามารถในการป้องกันเชื้อเอชไอวีได้มากถึง 90% แต่ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่เกิดจากการสัมผัสร่างกายหรือผ่านสารคัดหลั่ง เช่น ซิฟิลิส หนองใน หูดหงอนไก่ เริม เป็นต้น ฉะนั้น จะใช้ เพร็พ เพียงอย่างเดียวก็สามารถป้องกันเอชไอวีได้อย่างเดียวเท่านั้น ต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ถึงจะสามารถป้องกันทั้ง HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
อยากกิน PrEP ต้องเริ่มต้นอย่างไร
ก่อนเริ่มกิน เพร็พ แต่ละครั้ง ผู้รับยาต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในร่างกาย กรณีมีเชื้ออยู่แล้วจะไม่สามารถใช้ยานี้ได้ เพราะ เพร็พ ใช้สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบหรือไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายเท่านั้น แต่หากไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ต้องตรวจว่ามีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมถึงตับและไตทำงานได้ดีมากพอที่จะรับ เพร็พ หรือไม่ หากแพทย์พิจารณาว่าร่างกายสามารถรับยา จึงจะจ่ายยาให้ได้
รับ เพร็พ ที่ไหนได้บ้าง
ในปัจจุบัน เพร็พ มีให้บริการในระบบประกันสุขภาพของรัฐ โดยได้รวมยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ถือเป็นก้าวสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของเอชไอวี (HIV) และขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมสำหรับกลุ่มประชากรเสี่ยง สำหรับผู้สนใจรับบริการยาเพร็พ สามารถเข้ารับได้ที่ โรงพยาบาลรัฐบาลในเมืองหลักและจังหวัดต่าง ๆ
- หรือสามารถจองรับเพร็พฟรีได้ที่ Love2test
ตรวจเลือดไปแล้ว ต้องกลับมาตรวจซ้ำไหม?
โดยทั่วไปแล้วแพทย์มักจะนัดให้ผู้รับยากลับมาตรวจซ้ำทุก 3 – 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และไตยังสามารถทำงานได้ดีพอที่จะรับยาเข้าสู่ร่างกายได้
วิธีกิน PrEP มีแบบไหนบ้าง
ปัจจุบันมีวิธีการกิน เพร็พ ที่เป็นที่นิยมอยู่ 2 แบบ ผู้รับยาสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง ดังนี้
- Daily เพร็พ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV มีไลฟ์สไตล์ ขั้นตอนการกินที่ไม่ซับซ้อน กินเพียงแค่วันละ 1 เม็ด เริ่มต้นกิน 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องกินเวลาเดิมทุกวัน (เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องก่อนหรือหลังอาหาร)
- On Demand เพร็พ อีกไม่กี่วันต้องไปปาร์ตี้หนัก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับคนที่วางแผนการมีกิจกรรมของตัวเองได้ ขอแนะนำวิธีกิน เพร็พ แบบนี้ โดยมีสูตรในการกินคือ 2:1:1 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง 1 เม็ดถัดไป หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง 1 เม็ดสุดท้าย หลังจากกิน เพร็พ ครั้งที่สองไปแล้ว 24 ชั่วโมง แต่ถ้ายังคงมีเพศสัมพันธ์ต่อเนื่อง ให้กินอีก 1 เม็ดทุก 24 ชั่วโมง จนกระทั่งวันสุดท้าย แล้วให้กินต่อจากนั้น 2 วัน วันละ 1 เม็ด (ห่างกัน 24 ชั่วโมงเหมือนเดิม)
จำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิตไหม หยุดได้หรือเปล่า?
เพร็พ กินเมื่ออยู่ในช่วงที่มีความเสี่ยงเท่านั้น หยุดยาได้เองเมื่อพ้นช่วงเสี่ยงไปแล้วเกิน 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าก่อนหยุดยาควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดอีกครั้ง จะได้หยุดยาได้อย่างมั่นใจ
ผลข้างเคียงรุนแรงไหม
เวียนศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร อาจเกิดอาการเหล่านี้ในช่วงแรกของการกินยา แต่มักจะหายไปเองเมื่อกินยาไปแล้วประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีความรุนแรง ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
PrEP กับ PEP ไม่เหมือนกันหรือ ต่างกันอย่างไร?
- เพร็พ เป็นยาที่ใช้ป้องกัน ก่อนสัมผัสเชื้อ ในผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ใช้ในผู้ที่มีไลฟ์สไตล์เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือสามารถวางแผนก่อนมีกิจกรรมเสี่ยงได้
- ส่วน PEP ใช้ หลังสัมผัสเชื้อ สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีมาก่อน จะใช้เป็นยาต้านไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยที่ต้องทานให้เร็วที่สุดหรือหลังจากมีความเสี่ยงมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง และต้องทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วันเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดในการต้านเชื้อ
แม้ว่าการกิน เพร็พ จะสามารถป้องกันเอชไอวีได้เกือบ 100% แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในความเสี่ยง หากไม่ใช้ ถุงยางอนามัย ด้วย เพราะ เพร็พ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ เพราะฉะนั้น นอกจากจะใช้ เพร็พ ให้ถูกวิธีแล้ว ต้องอย่าลืมที่จะให้ความสำคัญกับการใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
Pingback: ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวี (HIV) ที่หลายคนไม่เคยรู้ | Love2Test
Pingback: วิธีการตรวจเอชไอวีและหลักการสำคัญที่ต้องรู้ | Love2Test
Pingback: คำขวัญวันเอดส์โลก ปี 2024 - ก้าวไปตามเส้นทางที่ถูกต้อง - มูลนิธิเพื่อรัก Love Foundation
Pingback: เพร็พและการป้องกันเอชไอวี: คู่มือฉบับสมบูรณ์ - มูลนิธิเพื่อรัก Love Foundation
Pingback: แอปหาคู่ออนไลน์ กับ Chemsex - วิธีลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด - มูลนิธิเพื่อรัก Love Foundation
Pingback: ซิมเพร็พ | SimpPrEP | Love2Test
Pingback: ทำไม U = U ถึงสำคัญ ต่อการยุติการแพร่ระบาดของเอชไอวี ? - U=U & Me
Pingback: ทำไม U = U ถึงสำคัญ ต่อการยุติการแพร่ระบาดของเอชไอวี ? - U=U & Me