เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี

การตรวจเอชไอวี เพื่อตรวจหาไวรัสเอชไอวี ( HIV : Human Immunodeficiency Virus ) เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ซึ่งส่งผลต่อระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่า CD4 และทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึง การตรวจเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี และ เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี

จะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี

แน่นอนว่าในเมื่อเอชไอวีเป็นต้นตอของผลกระทบของร่างกายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การตระหนักรู้ถึงการตรวจเอชไอวีจึงเป็นทางเลือกควบคู่ไปกับการป้องกันที่ดีร่วมด้วย โดยไม่สามารถกล่าวได้ว่าทางเลือกไหนควรทำมากกว่าหรือน้อยไปกว่ากัน ซึ่งคุณจะทราบได้อย่างไรว่าควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีแล้วหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และความพึงพอใจในการป้องกันของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วในระยะเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน นับว่าเป็นการยากหากจะใช้การสังเกตอาการของตนแล้วค่อยเข้ารับการตรวจยืนยัน เพราะอาจทำให้เข้าสู่ระยะที่ลุกลามสู่โรคอื่น ๆ แล้วก็เป็นได้ ดังนั้นการตรวจเอชไอวีจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เหมือนกับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ทั้งนี้ควรมองว่าเอชไอวีสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และลดการมองในแง่ลบต่อเอชไอวี ตลอดจนผู้ติดเชื้อหรือการตีตราผู้เข้าตรวจเอชไอวีด้วย จะทำให้แง่มุมต่อการตรวจเอชไอวี การรักษาเอชไอวี การป้องกันเอชไอวี เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ส่งผลต่อการตีตราทางสังคมที่ในปัจจุบันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ตรวจ เอชไอวี กี่วันรู้ผล?

ตรวจ เอชไอวี กี่วันรู้ผล

คำถามยอดฮิตที่หลายคนยังคงมีความสงสัยก่อนเริ่มทำการตรวจเอชไอวี ด้วยความที่ช่วงเวลาในการรอผลตรวจนั้น ส่งผลต่อความกังวลใจต่าง ๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่อาจติดเชื้อ แนวทางการรักษา ความกังวลใจต่อการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอน ตลอดจนเรื่องสำคัญอย่างการรับมือของบุคคลในครอบครัว สิ่งเหล่านี้เองทำให้ช่วงเวลาในการทราบผล กลายเป็นสิ่งที่หลายคนเลือกวิธีการตรวจที่เร็วกว่าควบคู่ไปกับผลการตรวจเอชไอวี ที่มีความแม่นยำด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าว่าการตรวจเอชไอวี แต่ละวิธีต้องใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะรู้ผลที่ชัดเจน โดยการตรวจเอชไอวี ในปัจจุบันจะแบ่งได้ตามนี้

การตรวจเอชไอวี แบบ HIV p24 antigen testing

คือ วิธีการตรวจเอชไอวีเพื่อหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่สามารถตรวจได้หลังจากการติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อของผู้ป่วยระยะเฉียบพลันหรือระยะแรก ด้วยการตรวจโปรตีน p24 เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยยังไม่สร้าง Anti-HIV หรือ ร่างกายมีระดับ Antibody ต่ำมากทำให้ไม่สามารถตรวจวัดค่าได้

การตรวจเอชไอวี แบบ Anti-HIV testing

คือ วิธีการตรวจเอชไอวีด้วยการตรวจการ Anti-HIV testing โดยสามารถตรวจพบได้หลังจากที่ร่างกายติดเชื้อ HIV ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ เป็นการตรวจประเภท Anti จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี ซึ่งได้รับความนิยมในการตรวจคัดกรองในปัจจุบัน

การตรวจเอชไอวี แบบ HIV Ag/Ab combination assay

คือ วิธีการตรวจเอชไอวีที่ทางการแพทย์นิยมใช้ในการคัดกรองผู้ป่วย โดยใช้ชุดตรวจ Antibody แบบจำเพาะต่อเชื้อไวรัสเอชไอวี และ Antigen สามารถตรวจพบได้หลังจากที่ร่างกายติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นการตรวจที่สามารถตรวจ HIV p24 antigen และ Anti-HIV ได้ในครั้งเดียว โดยใช้หลักการตรวจด้วยน้ำยาตรวจ Fourth generation

การตรวจเอชไอวี แบบ  Nucleic acid test (NAT)

คือ วิธีการตรวจเอชไอวีด้วยการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ซึ่งในปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่มีการนำเข้ามาบรรจุในการคัดกรองผู้ป่วยภายในสถานพยาบาล แต่ถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้เร็วที่สุด โดยสามารถตรวจหลังจากที่ร่างกายติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 3 – 7 วัน

ข้อสังเกตที่เตือนว่าคุณควรตรวจเอชไอวี

ข้อสังเกตที่เตือนว่าคุณควรตรวจเอชไอวี

ผู้ที่ทราบว่าตนผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมาไม่นาน ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีโดยทันทีหรือเร็วที่สุด ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับการตรวจเพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คำนวณได้จากการคาดการณ์สัมผัสเชื้อครั้งล่าสุดและเว้นระยะเวลาให้ผ่านระยะฟักตัวประมาณ 3 เดือน จึงจะเป็นเวลาการตรวจเอชไอวีที่ได้ประสิทธิภาพ โดยผ่านความเสี่ยงดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ถุงยางอนามัยฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยขาดสติ หรือ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่ไม่มั่นใจว่าคู่นอนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่

ข้อควรปฏิบัติหลังทราบผลว่าติดเชื้อเอชไอวี

หลังจากที่ทราบผลการตรวจเอชไอวี และได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่า ติดเชื้อเอชไอวี สิ่งที่จะต้องทำต่อจากนี้คือการเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่องและเข้มงวด ด้วยการพิจารณาแนวทางการรักษาจากแพทย์เจ้าของไข้ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวให้เหมาะสมเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น โดยมีแนวทางข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ทำความเข้าใจ ศึกษา ปรึกษา ซักถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ จากแพทย์ให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
  • เข้าสู่กระบวนการรักษาเอชไอวีตามคำแนะนำของแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ทานยาให้ครบและตรงเวลาที่กำหนด 
  • หากมีอาการผิดปกติในระหว่างการรักษา ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อแจ้งอาการโดยเร็ว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายความกังวล ไม่คิดมาก ดูแลสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงร่วมด้วย
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เสพสารเสพติดทุกชนิด การพักผ่อนไม่เพียงพอ

ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวี

ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวี
  • ช่วยให้ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง
  • ช่วยให้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
  • ช่วยให้สามารถวางแผนชีวิต และวางแผนอนาคตได้อย่างเหมาะสม
  • ช่วยให้สามารถวางแผนป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่ลูกในครรภ์

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เหมือนกับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพราะเอชไอวีในระยะแรกๆ มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจเอชไอวีทันที หากผลการตรวจเป็นบวก จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมระดับเชื้อในเลือดไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อต่อผู้อื่น

Scroll to Top