Dr. Speak Out

CD4 กับ Viral load คืออะไร ?

เมื่อเราติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว ไวรัสเอชไอวีจะเจาะเข้าไปในเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้ CD4 จำนวนลดลง  เมื่อ CD4  ลดลง ปริมาณ Viral Load เพิ่มขึ้น  เมื่อมีเชื้อเอชไอวี( HIV) อยู่ในร่างกายนานๆ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายมากขึ้นนั่นเอง ในบทความนี้จะพูดถึง CD4 กับ Viral load ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยเอชไอวี CD4 คืออะไร CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells  CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในคนที่ร่างกายปกติก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ […]

CD4 กับ Viral load คืออะไร ? Read More »

PrEP และ PEP คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

PrEP และ PEP คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ?

การแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้ยาต้านไวรัสของโรค HIV ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมากแล้ว นอกจากกลุ่มยาที่มีไว้รักษาโดยการต้านเชื้อ ก็ยังมียาที่ทำงานด้วยจุดประสงค์อื่น คือการป้องกันเชื้อ HIV ออกมาให้คนทั่วไปได้รับไปทาน ซึ่งยาเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่มีเชื้อ HIV ในการป้องกันโรคหลังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ HIV ได้ซึ่งยาเหล่านี้มีชื่อว่ายา PrEP และ PEP PrEPและPEP คืออะไร? PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง PrEPและPEP เหมาะกับใครบ้าง ? PrEP PEP ประโยชน์ของ PrEP และ PEP คืออะไร? PrEP ยาต้านไวรัสเอชไอวี แก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น PrEP สามารถให้ได้ทั้งในรูปยากิน หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ในรูปเจลผสมยาต้านไวรัสใส่ในช่องคลอด หรือในทวารหนัก และห่วงบรรจุยาต้านใส่ในช่องคลอด

PrEP และ PEP คืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? Read More »

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน?

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน และยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ คือ การติดเชื้อเอชไอวี โดยความอันตรายของโรคคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ จนในที่สุดเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยก็พบว่าตนเข้าสู่ระยะรุนแรง ซึ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้สูงกว่า ที่สำคัญไปกว่านั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย อาจมีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หากไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ในบืความนี้ จะกล่าวถึงการ ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน? ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหันมาให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อ การตรวจ HIV ตลอดจนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์ว่าหน่ึงในสิ่งแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทราบสถานะของตนได้อย่างทันท่วงที หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุด และยับยั้งการลุกลามของเชื้อเอชไอวีไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันหากรักษาได้เร็วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป แตกต่างจากเมื่อครั้งอดีตที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ที่ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตจากเอชไอวีมากมาย การตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน ความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การตรวจ HIV มีกระบวนการที่ยุ่งยากใช้เวลานาน นั่นเป็นเพราะว่าในอดีตการพัฒนาด้านการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังค่อนข้างยาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ผู้คนส่วนมากยังไม่เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เหล่านี้เท่าที่ควร ความจริงแล้วในปัจจุบันหากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องการเข้ารับการตรวจ HIV สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาในการตรวจเพียงไม่นานก็ทราบผล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุให้ การตรวจ HIV อยู่หลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่

ตรวจ HIV ไม่เจอ จะมั่นใจได้มากแค่ไหน? Read More »

HIV Self test ชุดตรวจเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี ไวรัสเอชไอวี เอดส์ ชุดตรวจอินสติ HIV test

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test)

ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย มีเกณฑ์การลดลงอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนที่น่าพึงพอใจ เนื่องด้วยความมุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบายในการยุติปัญหาเอดส์และเอชไอวี ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2573 อย่างร่วมมือร่วมใจจากหลายภาคส่วน ทำให้เป้าหมายหลักทั้ง 3 ประการ นั่นก็คือ การลดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ การลดพฤติกรรมถูกเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้ความรู้ รวมไปถึงแนวทางการตรวจเอชไอวี ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ในบทความนี้จะกล่าวถึงการ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไอวี การตรวจเอชไอวีในปัจจุบันโดยวิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์มีด้วยกันทั้งหมด 4 วิธี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ตรวจอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลเท่านั้น โดยมีวิธีการดังนี้ จะเห็นได้ว่าการตรวจเอชไอวีด้วยวิธีการดังกล่าว เป็นการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด แต่ทว่าการตรวจเอชไอวีที่จะต้องเข้าพบแพทย์ หรือ การรับคำปรึกษาจากสถานพยาบาลโดยตรง ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่ต้องการตรวจ รวมไปถึงคนรอบข้างด้วยเช่นกัน ในแง่ของการถูกตีตราทางสังคม ความเข้าใจผิดที่มีต่อการตรวจเอชไอวีและการติดเชื้อเอชไอวี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ที่มีความเสี่ยงไม่เข้ารับการตรวจอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยุติปัญหาเอชไอวี จึงได้นำร่องทางเลือกใหม่ในการช่วยคัดกรองเอชไอวีได้มากยิ่งขึ้น จากการผลักดันให้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง ได้รับการอนุญาตให้วางจำหน่ายได้ในประเทศไทย การอนุญาตให้ประชาชนเข้าถึงชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ชุดตรวจเอชไอวี (HIV Self Test) Read More »

กลุ่มเสี่ยงเอชไอวี เอชไอวี เอดส์ ไวรัสเอชไอวี ตรวจเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถคิดค้นแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่วงการแพทย์ยังคงเดินหน้าทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยทั่วโลก รวมไปถึงการลดปริมาณผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเอดส์ให้มากที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมายนี้เองทำให้เกิดการรณรงค์และกระตุ้นการรับรู้ ถึงความร้ายแรงของเชื้อเอชไอวีควบคู่ไปกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อลักษณะอาการ การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับปรับทัศนคติที่ยังเกิดความเข้าใจผิดในปัจจุบันให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจะไปดูเนื้อหาเกี่ยวกับ ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี โดยจากข้อมูลรายงานเมื่อปี 2532 จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ที่ได้มีการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 ปี โดยการสุ่มตรวจจากติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเป้าหมายที่จัดอยู่ในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 8 กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยแล้ว จะส่งผลให้เม็ดเลือดขาวภายในร่างกายถูกทำลาย กล่าวคือเอชไอวีจะทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวบกพร่องและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นคือ การได้รับของเหลวจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เช่น เลือด ของเหลวในช่องคลอด อสุจิ และสารคัดหลั่งต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้ การมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด หรือ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่พบได้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในหลายประเทศทั่วโลก อันเนื่องมาจากไม่ให้ความสำคัญในการ “ป้องกัน” อย่างถูกต้อง นั่นคือการไม่สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่คำนึงถึงผลเลือดของคู่นอนที่อาจมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายทั้งรู้ตัว หรือ ไม่รู้ตัวก็ตาม ทั้งนี้ใช่ว่าพฤติกรรมอื่น

ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรเข้ารับการตรวจเอชไอวี Read More »

ตรวจเอชไอวี (HIV) ที่ไหนดี ตรวจเร็ว รู้ผลไว

ตรวจเอชไอวี (HIV) ที่ไหนดี ตรวจเร็ว รู้ผลไว

เอชไอวี (HIV) คือโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส Human Immunodeficiency Virus ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อถูกทำลาย และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ตามปกติ กล่าวคือในปัจจุบันเอชไอวีนับว่าเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ถึง 2.1 ล้านคน (รายงานขององค์การสหประชาชาติ 2562) ทั้งนี้ในประเทศไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ 4.7 แสนคน ซึ่งเป็นผู้ที่เข้ารับยาต้านไวรัสอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 4 แสนคน ดังนั้น ตรวจเอชไอวี จึงเป็นแนวทางที่ทำให้ทราบสถานะของตนเองได้เร็วยิ่งขึ้น และเมื่อทราบอย่างชัดเจนแล้วย่อมสามารถวางแผนการป้องกัน หรือวางแผนการรักษาได้ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่พัฒนาการด้านยาต้านไวรัสถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการป้องกันและการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ร่วมกับไวรัสได้อย่างปลอดภัย ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อก่อนจะนำไปสู่ภาวะร้ายแรงของโรคเอดส์ได้ ด้วยเหตุนี้เองผู้ป่วยเอชไอวีในปัจจุบันที่เข้ารับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง และใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ทัศนคติที่ควรเปิดกว้างต่อการตรวจเอชไอวี ตรวจไว รักษาได้ แนวคิดการตรวจเอชไอวี เนื่องในวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (VCT Day) วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยมีความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของเอชไอวี การป้องกันและดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากการติดเชื้อเอชไอวี ไปจนถึงการดูแลรักษาที่ทันท่วงที เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยในสังคมไทยให้มากที่สุด

ตรวจเอชไอวี (HIV) ที่ไหนดี ตรวจเร็ว รู้ผลไว Read More »

ตรวจเอชไอวี ตรวจเอดส์ ตรวจเลือด โรคเอดส์ HIV ตรวจเอชไอวีตอนไหน ตรวจเอชไอวีที่ไหน

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

หากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงการป้องกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปีแล้ว แน่นอนว่าโรคเอดส์ หรือ เอชไอวี คือสิ่งที่สังคมไทยและทั่วโลกต่างทราบเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อ่อนแอลง ซึ่งระยะสุดท้ายของโรคคืออาการของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนายาที่รักษาให้หายขาดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้หลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยมากมายต่อเอชไอวี รวมถึงการตรวจเอชไอวี โดยในบทความนี้ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ การรักษา รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี มาให้ทุกคนที่สนใจได้ทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรตรวจเอชไอวีหรือไม่? เชื่อว่าคำถามนี้เป็นหนึ่งในข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากทราบดีว่าสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ที่มั่นใจว่าตนไม่เข้าข่ายพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น ไม่ให้ความสำคัญต่อการตรวจเอชไอวี ในกรณีนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าประชาชนทุกคนควรได้รับการตรวจเอชไอวี เนื่องจากสถิติของกรมควบคุมโรคได้เผยว่า ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่ทราบสถานะของตนประมาณ 2.8 หมื่นคนต่อปี ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้โดยไม่รู้ตัว ข้อแนะนำในการตรวจเอชไอวี ตรวจเอชไอวีได้ที่ไหนบ้าง? คนไทยทุกคนสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี 2 ครั้ง/ปี ณ โรงพยาบาลที่สามารถใช้สิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทุกแแห่งทั่วประเทศ หรือ คลินิกที่ร่วมโครงการ เช่น คลีนิคนิรนาม

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี Read More »

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน

จากข้อมูลศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2524 พบผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็นโรคมะเร็งคาโปสิ ซาร์โคมา (Kaposi’s sarcoma) โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิไอ (Pneumocystis carinii) และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอีกมากมาย ซึ่งจากการบันทึกไว้ทราบว่าไม่มีผู้ป่วยรายไหนรอดชีวิต แม้ว่าจะใช้วิธีรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีที่สุดของช่วงนั้นแล้ว จากนั้นจึงมีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการให้โรคนี้ว่า Acquired Immuno-deficiency Syndrome หรือ AIDS ในบทความนี้ จะกล่าวถึง นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะนั้นจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในไม่กี่ปี โดยผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย หรือ กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuality) จึงมีความเข้าใจผิดต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ในแง่ลบ จนกระทั่งแพทย์ได้พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์จากการถ่ายเลือดได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการศึกษาโรคเอดส์อย่างจริงจังในเวลาต่อมา ถัดมาในปี พ.ศ. 2527 คณะนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า พบเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีภาวะของโรคเอดส์ โดยให้ชื่อว่า HTLV-III และในปัจจุบันคือ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus : HIV) ในประเทศไทยมีการสำรวจพบผู้ป่วยรายแรกอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งในโรคเอดส์ช่วง 3 ปีแรกของการแพร่ระบาดในไทย

นโยบายการยุติปัญหาเอชไอวี และการตรวจเอชไอวีจากอดีตถึงปัจจุบัน Read More »

ตรวจเอชไอวี รักษาเอชไอวี เชื้อเอชไอวี HIV โรคเอดส์ AIDS ความเสี่ยงเอชไอวี

แนวทางการตรวจเอชไอวี และหลักปฏิบัติ

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้มีการพัฒนา เกี่ยวกับแนวทางการตรวจเอชไอวีและการรักษาเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดจำนวนผู้ป่วย รวมไปถึงลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า “เอชไอวี (HIV)” ยังไม่มีแนวทางการรักษาให้หายขาดได้ 100% มีเพียงวิธีการป้องกันต่าง ๆ อย่างครอบคลุม พร้อมกับการตรวจเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอและทันท่วงที ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบสถานะของตน เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม บทความนี้จะกล่าวถึง แนวทางการตรวจเอชไอวี กล่าวคือ การตรวจเอชไอวี มีความสำคัญเทียบเท่าการป้องกันตนเอง จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่าง ๆ หรือ ความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำเชื้อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน อุบัติเหตุทางการแพทย์ (ความเสี่ยงของบุคคลากรทางการแพทย์) หรือ การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงการตรวจได้สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น ด้วยนโยบายของภาครัฐ ที่ได้มีการบรรจุให้การตรวจเอชไอวีเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีจำนวน 2 ครั้งต่อปี ภายในสถานพยาบาลของรัฐที่สามารถใช้สิทธิได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้ครอบคลุมทั่วประเทศ และช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของการให้คำปรึกษาและการตรวจเอชไอวีโดยแพทย์ การเข้ารับการตรวจเอชไอวี หรือ การเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี เป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ เพื่อทราบผลเลือดที่ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีในร่างกายจริงหรือไม่ ช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจเอชไอวีมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งยังเป็นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลของการตรวจเอชไอวีนั้น ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้เข้ารับการตรวจเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าผลการตรวจเอชไอวีจะออกมาเป็นอย่างไร

แนวทางการตรวจเอชไอวี และหลักปฏิบัติ Read More »

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้

จากการสำรวจสุขภาพในปี 2558 (Health Examination) พบว่าคนไทยมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ด้วยทัศนคติแง่ลบเกี่ยวกับความร้ายแรงของโรคเอดส์ในอดีตมากถึงร้อยละ 58.6 ซึ่งมีความต่อเนื่องเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในปี 2560 พบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการตีตรารวมถึงการเลือกปฏิบัติแง่ลบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.9 ทั้งในเรื่องการดำเนินชีวิตและในส่วนของการรับบริการจากสถานบริการสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้นำไปสู่การตัดสินใจไม่กล้าเข้ารับการตรวจเอชไอวี ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้น บทความนี้ จะกล่าวถึงการตรวจเอชไอวี ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี เพราะการตรวจเอชไอวีเป็นการตรวจที่ง่าย และสะดวก เราทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญ ของการตรวจเอชไอวี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดในการรณรงค์สร้างความตระหนักที่ถูกต้องให้กับประชาชนทุกคน ในเรื่องเอชไอวีและเอดส์เนื่องในวันเอดส์โลกวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการตีตรา และลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ลดลงในอนาคต ด้วยการสนับสนุนให้มีการยุติปัญหาเอชไอวี ภายใต้แนวความคิด “Walk Together : เอดส์อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา” ด้วยจุดประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ก้าวสู่ความเข้าใจที่ตรงกันว่า การติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องที่ไม่น่ารังเกียจ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการรับยาต้านเชื้ออย่างมีวินัยและต่อเนื่อง ไม่สามารถติดต่อสู่บุคคลอื่น ๆ ได้ง่ายอย่างที่เข้าใจ และเพื่อให้ผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้ที่มีความเสี่ยง กล้าที่จะเข้ารับการตรวจเอชไอวีรวมถึงมีความมั่นใจในการเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน ปัจจุบันการตรวจเอชไอวีในผู้ที่มีความเสี่ยงจากกรณีต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ประชาชนต่างหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้มีการบรรจุให้การตรวจเอชไอวีเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ

ขั้นตอนการตรวจเอชไอวี รู้ทันป้องกันได้ Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top